โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

เทคนิคในการทำเกษตรของ อ่าเจ่อ เชอมือกู่ชาติพันธุ์อาข่า

การเลือกพันธุ์ข้าวของอาเจ่อ

แต่ก่อนข้าวพันธุ์พื้นเมืองของอ่าเจ่อมีมากกว่า 10 พันธุ์ ขณะนี้เหลืออยู่ไม่กี่พันธุ์ คือ ข้าวเหนียวดำมีพันธุ์ ห่อหย่อโยนะ โยวเน่ ส่วนพันธุ์ข้าวเจ้า คือ กิมหย่อ การคัดเลือกพันธุ์นั้น อาเจ่อบอกว่าจะทำการคัดเอง โดยพันธุ์ข้าวเจ้าที่ปลูกไว้กินนี้ นอกจากเป็นพันธุ์ที่มีรสชาติถูกปากแล้วก็จะดูว่าต้านทานโรคได้ดีไหม ดูผลผลิตที่ได้ ต้องเป็นพันธุ์ที่ขึ้นได้ดีมนพื้นที่ไม่ดี ผลสุดท้ายเลยเลือกพันธุ์กิมหย่อ

ภาพการเก็บเมล็ดพันธุ์

ส่วนข้าวเหนียว เลือกปลูกข้าวเหนียวดำ เพราะชาวจีนฮ่อที่บ้านรวมใจ ชอบมากจะซื้อในราคาแพง อีกทั้งข้าวเหนียวก็ต้านทานโรคได้ดีไม่ค่อยมีปัญหาเหมือนข้าวเจ้าเลยปลูกมากกว่า

การวัดแนวระดับ

อาเจ่อเป็นผู้นำด้านการเกษตรของหมู่บ้าน ความชำนาญพิเศษคือการวัดแนวระดับซึ่งปกติซึ่งปกติแล้วจะทำได้ 2 แบบ คือ
1.แบบลูกดิ่ง ใช้ลูกดิ่งผูกกับไม้แล้ววัดไปตามแนวของพื้นที่ไร่ หรือเรียกว่า เอเฟรม อุปกรณ์ ประกอบด้วยไม้ไผ่ที่มีลักษณะตรง ความยาว 2 เมตร 2 ท่อน,ความยาว 1 เมตร 1 ท่อน และเชือก ลูกตุ้ม 1 อัน การหาระดับโดยขยับขาข้างหนึ่งไปข้างหน้า และขยับขึ้นจนให้ลูกตุ้มอยู่ตรงกลาง

แบบลูกดิ่ง


2.แบบเขาควาย ประกอบด้วย ไม้ที่มีลักษณะตรง เช่น ไม้ไผ่ 2 ท่อนยาวเท่าความสูงของผู้วัดระดับ ไม้ขนาด 20 ซม. 1 ท่อน และสายยางใส่น้ำขนาดยาว 1 เมตร 1 เส้น การหาแนวระดับทำได้โดยเล็งด้วยตา จากไม้ที่มีระดับน้ำไปยังไม้อีกท่อนหนึ่งที่มีอีกคนคอยขยับขึ้นลงดังภาพ

แบบระดับน้ำ

การคัดเลือกชนิดไม้พุ่มตระกูลถั่วบำรุงดิน

อาเจ่อเลือกใช้กระถินผลมกับถั่วมะแฮะ ในอัตรา 1:1 เพราะหาเมล็ดได้ง่ายกว่าอย่างอื่น โดยโรยเป็นแถวคู่ระหว่างแถวห่างกัน 50 ซม.ระยะห่างของแนวระดับนั้นประมาณ 4 เมตร ซึ่งแนวนี้จะช่วยดักตะกอนดินไม่ให้ไหลลงสู่ที่ลุ่ม ขณะเดียวกันก็ช่วยดูดซับน้ำไว้ในดิน นอกจากนี้แนวกระถินยังมีระบบรากลึกช่วยหมุนเวียนธาตุอาหารจากดินชั้นล่างนำไปใช้ประโยคได้
เมื่อกระถินสูงเกินระดับ 1 เมตร อาเจ่อจะตัดใบและกิ่งก้านใช้เป็นวัสดุบำรุงดินในรูปของปุ๋ยพืชสด จะคลุมระหว่างแถบที่ปลูกพืช หรือโคนไม้ผลวิธีการนี้ยังช่วยลดอัตราการชะล้างพังทลายของดิน ดินสามารถอุ้มน้ำได้มากขึ้นและจะมีการเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุ และธาตุอาหารให้กับดินได้สูงขึ้น ช่วงฝนอาเจ่อจะตัดแนวระดับหลายครั้ง เพื่อลดปัญหาการแย่งแสงแดดกับพืชหลัก(ข้าวหรือข้าวโพด) แต่พอถึงช่วงหลังการเก็บเกี่ยวพืชหลักแล้ว กระถินและมะแฮะที่เป็นแนวระดับก็จะเจริญเติบโตเต็มที่ตลอดฤดูแล้งที่ไม่มีการปลูกพืชหลัก ซึ่งจะทำให้ดินได้รับการฟื้นฟูให้ดีขึ้นเรื่อยๆตามธรรมชาติเหมือนระยะพักตัวในระบบการทำไร่เลื่อนลอย

ที่มา : หนังสือภูมปัญญาเกษตรกรรม ประสบการณ์จากล้านนา เขียนโดย อรุณี เวียงแสง
ฝ่ายข้อมูลเครือข่ายเกษตรทางเลือก ภาคเหนือ

บทความแนะนำ