ฐานที่ 2 การจัดการป่า
สถานการณ์ (นำร่องแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดย นายวิโรจน์ ติติน คนทำงานในเครือข่ายป่าชุมชนภาคเหนือ)
ประเทศไทยจัดการโดยยึดป่าเป็นของรัฐ แต่รัฐบริหารป่าไม่มีประสิทธิภาพ จึงเกิดการเสื่อมโทรมของป่าชุมชน อีกทั้งกลุ่มนายทุนมีความพยายามเข้าไปจัดการและทำธุรกิจ ในขณะที่หากชาวบ้านเข้าร่วมกันดูแลจะเกิดผลลัพธ์แง่บวกอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม แม้ว่าปัจจุบันแนวคิดของรัฐจะยกเลิกการสัมปทานป่าแต่รัฐยังคิดที่จะผูกขาดการจัดการฝ่ายเดียว ซึ่งในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา รัฐใช้กฎหมายในการควบคุมป่าที่ชาวบ้านเริ่มเข้ามาจัดการเอง จึงต้องผลักดันให้กฎหมายเป็นธรรม โดยผ่านตัวแทนชาวบ้าน 50,000 ต่อ 1 คน เข้าไปเจรจา
ทั้งนี้ การทำงานที่ผ่านมาของภาคประชาชนมีความสำเร็จดังนี้
– สภาพป่าที่เสื่อมโทรมได้รับการฟื้นฟู
– เกิดการรวมกลุ่มและองค์กรชาวบ้านในการร่วมกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
– คนในสังคมเริ่มตระหนักในปัญหาเหล่านี้มากขึ้น และ
– รัฐและชาวบ้านสามารถร่วมมือกันทำงานเพื่อขับเคลื่อนทางนโยบายและกฎหมายได้มากขึ้น
ประเด็นหลักจากการแลกเปลี่ยน
1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายป่าชุมชน ตลอดจนความร่วมมือระหว่าง “อำนาจประชาชน” และ “อำนาจรัฐ” ในเรื่องนโยบายป่าชุมชน
2. การประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรและเครือข่ายต่างประเทศ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และทางเลือกระหว่างกัน
3. ไม่ว่านโยบายจะยอมรับสิทธิมนุษยชนหรือไม่ก็ไม่สำคัญ สิ่งสำคัญคือ “ลงมือทำ”
4. ประสบการณ์ในประเทศไทยการทำงานในประเด็นป่าชุมชนเชื่อมโยงสู่ประเด็นการพัฒนาอื่นๆ กล่าวคือ สู่การพัฒนาระบบนิเวศ สิทธิมนุษยชน และการตัดสินใจในระดับนโยบาย
5. ชุมชนต้องพึงตระหนักในการมีทั้ง “สิทธิ” และ “หน้าที่” ในการปกป้อง ดูแล รักษา และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
6. การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นควรเป็นวิธีการบอกเล่าปากต่อปากมากกว่าการเขียนเป็นเอกสารเพราะอาจถูกขโมย