1.เทคนิคการปลูกโดยเอาผักระยะยาวไว้ทีหลัง
เพื่อให้ดินได้ปรับเปลี่ยนแก้ปัญหาเรื่องหญ้า โดยเริ่มต้นจะทำการปลูกผักบุ้งก่อนเพราะในตอนแรกแปลงยังมีวัชพืชอยู่มากควรให้ผักบุ้งซึ่งโตเร็วคลุมวัชพืชไว้ก่อน จากนั้นค่อยมาปรับดินเอาหัวหญ้าออกเรื่อยๆแล้วเอาผักอายุทากขึ้นมาปลูกต่อๆกัน เช่น ผักกาด ผักชีลาว ผักชีหอม โหรพา แมงลัก ไปจนถึงถั่วฝักยาว ก็จะคลุมหญ้าไว้ได้เลย
2.ปลุกผักบุ้งให้ห่างกัน 1 สัปดาห์
การปลูกผักบุ้งควรทำสองแปลงแต่ละแปลงจะห่างกัน 1 สัปดาห์ เพื่อให้มีผลผลิตต่อเนื่องและขายได้ทัน ในหน้าร้อนอาจทำการปลูกถั่วให้เรียบร้อยก่อนรดน้ำพรวนดินแล้วทำเป็นแปลงหว่านผักบุ้งลงพร้อมกันในแปลงเดียวยกันเลย ซึ่งเมื่อผักปลูกโตจนถอนขายได้ เราก็สามารถปักไม้ทำค้างถั่วพอดีเลย
3.ผักทุกอย่างจะไม่ปลูกซ้ำกัน…
อยู่ในช่วงเดียวกันแต่จะให้ผสมผสานกัน เพื่อให้จัดสรรแรงงานได้เหมาะสม ต้องดูให้มีผลผลิตทยอยออกมาอย่างสม่ำเสมอ ในบางฤดูชนิดไหนที่ปลูกยากก็ทำในปริมาณที่น้อย ที่สำคัญต้องคอยจดบันทึกไว้เสมอว่าเริ่มต้นทำการผลิตผักแต่ละชนิดวันไหน แล้ววันไหนต้องทำอะไร วันไหนจึงจะเริ่มต้นเก็บผลผลิต เก็บได้เท่าไร ฯลฯ เป็นเหมือนการวางแผนการผลิตและคอยตรวจสอบด้วยตัวเอง
4.รดน้ำสมุนไพรจะไม่มีโรคแมลง
การป้องกันโรคและแมลงทำโดยการรดน้ำหมักชีวภาพทุกๆ 3-5 วันโดยรดไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นเริ่มทอดยอด(ประมาณ 8 วัน)ไปจนตลอดอายุการปลูก โดยสูตรที่ใช้คือ บอระเพ็ด ข่าแก่ ขี้เหล็ก สาบเสือ สะเดา(ใบอ่อน) ใบยูคาลิปตัส ตะไคร้หอม ไหลแดง ยาฉุน (ยาสูบ) เหล้าขาว หัวน้ำส้ม หมักไว้ 1 เดือน อัตราส่วนที่ใช้คือ น้ำหมัก 1 ลิตรผสมน้ำ 20 ลิตร ทั้งนี้สูตรส่วนผสมก็ขึ้นกับแต่ละคนว่าจะคิดค้นประการใด ทดสอบด้วยการชิมว่าขมมากน้อยเพียงใด (ชิมได้เพราะสารจากธรรมชาติ แต่ห้ามชิมมาก เพราะมีสารออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทเช่นเดียวกันกับสารเคมี) และการเอาใบต้นดาวเรืองมาผสมทำเป็นน้ำหมักเพิ่มประสิทธิภาพการไล่แมลงได้อีกด้วย
5.อยากให้ถั่วฝักยาวมีฝักสมบูรณ์
หากถั่วฝักยาวมีใบเยอะให้เด็ดใบออกอย่าให้ใบหนาแน่น เพื่อให้ฝักได้สมบูรณ์โดยเด็ดจากใบที่ 3 นับจากล่างสุดขึ้นไป แต่ถ้าถั่วใบบางอยู่แล้วก็ไม่ต้องเอาออกเลย ต้องคอยดูว่าร้านปักแน่นหนาไม่ให้ล้มหากัน ซึ่งจะทำให้เถามันเลื้อยพันกันยุ่งเหยิงแล้วจะทำให้เกิดโรคได้ง่าย
6.เสียมนั้นสำคัญอย่างไร
เสียมที่ใช้ขุดหน่อและการสับหน่อข่าแดงนั้นต้องใช้เสียมเพราะ เพราะ การขุดหน่อต้องอย่าเกิดแผลในหน่ออื่นๆ หน่อที่เป็นแผลในหน่ออื่นๆ หน่อที่เป็นแผลจะทำให้เชื้อโรคเข้าไปทำลายต้น หากขุดไม่ถูกต้องหน่อจะไม่งอกใหม่
7.ฮอร์โมนในการเร่งผลผลิต
ทำจากผลไม้สุก เช่น มะม่วงสุก มะม่วงหิมพานต์ กล้วย ฟักทองเอามาสับและหั่น แล้วหมักใส่กากน้ำตาล อัตราส่วน 1 ต่อ 3 (ไม่ต้องใส่จุลินทรีย์) เช่น ถ้าได้กล้วย 2 กก. ฟักทอง 2 กก.มะม่วง 2 กก. รวมเป็น 6 กก. ก็ใช้กากน้ำตาล 2 กก.(ไม่ต้องใส่น้ำ) หมักไว้ 2 อาทิตย์สกัดเอาน้ำออกมา อัตราส่วนการใช้คือ ฮอร์โมน 1 ช้อน ผสมกากน้ำตาลอีก 1 ช้อน ผสมกับน้ำ 10 ลิตร
ที่มา : หนังสือบทบันทึก คุณค่าผักพื้นบ้านในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เขียนโดยคุณนาถพงศ์ พัฒนพันธ์ชัย และคุณสมใจสิงห์สา