โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

การทำไร่หมุนเวียนยังเป็นการอนุรักษ์พันธุกรรมพื้นบ้าน…

ท่ามกลางกระแสความตื่นตัวในการอนุรักษ์พันธุกรรมพื้นบ้านและความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบไร่หมุนเวียนยังถูกนำเสนอในฐานระบบการเกษตรดั้งเดิมที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพื้นบ้าน ซึ่งไม่อาจพบได้ในระบบการเกษตรแผนใหม่ ในแต่ละฤดูการผลิตครัวเรือนหนึ่งๆจะปลูกข้าวอย่างน้อย 2-3 สายพันธุ์ และพืชพรรณต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 30 สายพันธุ์ เป็นทั้งพืชอาหาร พืชสมุนไพร และพืชและพืชที่มีความสำคัยทางวัฒนธรรม เช่น ลูกเดือยปักผ้า ดอกไม้ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ เป็นต้น แต่ละครัวเรือนจะเก็บรักษาพันธุกรรมพืชไม่เหมือนกัน มีการแลกเปลี่ยนพันธุ์ระหว่างครัวเรือนชุมชน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนต่างชาติพันธุ์ เกษตรกรจะมีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ และพัฒนาสายพันธุ์พืชตามระบบความรู้พื้นบ้านอยู่ตลอดเวลา ทำให้ในแต่ละชุมชนมีพันธุกรรมข้าวและพืชต่างนับร้อยสายพันธุ์

ไร่หมุนเวียนคือระบบเกษตรยั่งยืน -วนเกษตร เกษตรอินทรีย์…

กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ไร่หมุนเวียนนั้น ได้มีการหยิบยืมเอากระแสต่างๆ ที่สังคมเริ่มให้ความสนใจให้คุณค่า หรือให้การยอมรับ มาใช้ในการสร้างคุณค่าให้แก่ตนเอง ซึ่งนอกจากกระแสการอนุรักษ์พันธุกรรมแล้วยังมีกระแสของระบบเกษตรยั่งยืน ที่เน้นการเพาะปลูกโดยไม่ใช้สารพิษ การสร้างความมั่งคงทางอาหาร และวางอยู่บนพื้นฐานการพึ่งตนเอง
ในกระแสการพัฒนาและยอมรับระบบเกษตรอินทรีย์ ระบบไร่หมุนเวียนถูกนำเสนอสู่สังคม ในฐานะระบบการเกษตรปลอดสารพิษ เพราะไม่มีการใช้ปุ๋ยและยาปราบศรัตรูพืช แต่ใช้กระบวนการทางธรรมชาติในการผลิต เช่น ใช้แรงงานคนถอนหญ้าโดยไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า ใช้ปุ๋ยขี้เถ้าจากการเผาไร่ พักที่ดินเพื่อควบคุมวัชพืช และการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของที่ดินแทนการใช้ปุ๋ยด้วยกระบวนการดังกล่าว ไร่หมุนเวียนเป็นระบบการผลิตที่ไม่ทำให้เกิดสารพิษตกค้างลงในแหล่งธรรมชาติผลผิตจากไร่ นอกจากจะเป็นอาหารที่ปลอดภัยแล้ว ยังมีความหลากหลายของชนิด และคุณค่าของสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างมาก ทั้งพืชผัก เครื่องเทศ พืชให้พลังงาน และธัญพืชที่ชาวบ้านสามารถเก็บกินได้ตลอดปี หรือแม้จะเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วนานนับปี ก็ยังมีผลผลิตหลายชนิดที่เหลือให้เก็บกิน

      อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ในทางสาธารณะเพื่อสร้างอัตลักษณ์ไร่หมุนเวียนในแง่ระบบเกษตรยั่งยืน นับว่ายังขาดการวางแผนและดำเนินการอย่างต่เนื่องเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับการเผยแพร่แนวคิดระบบการเกษตรยั่งยืนรูปแบบอื่นๆ ประเมินง่ายๆจากจำนวนสื่อสิ่งพิมพ์ที่มี หรือกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ต่างที่ปรากฎในสังคมไทย

ที่มา : หนังสือเกษตรกรรมยั่งยืน อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมกับปัญหาการเกษตรและอัตลักษณ์ชาวนาไทย ผู้เขียน กฤษฏา บุญชัย,ชลิตา บัณฑุวงศ์,นาวิน โสภาภูมิ,ปราณัฐ สุขสุทธิ์ และ วรรณา จารุสมบูรณ์ ,อนุสรณ์ อุณโณ, อัจฉรา รักยุติธรรม

บทความแนะนำ