ความสำคัญของการเรียนรู้ในงานพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน
ทิศทางการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวม การพัฒนาคน การเพิ่มศักยภาพชุมชน และการสร้างเครือข่ายองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง เพื่อความสามารถในการพึ่งตนเองและสามารถรับมือพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตเพื่อปรับตัวและแสวงหาประโยชน์อย่างรู้เท่าทันโลกสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกภาคส่วน
กระบวนการพัฒนาศักยภาพของชุมชน ทำให้ชุมชนเข็มแข็งและพึ่งตนเองได้ ซึ่งเป็นการช่วยจัดกระบวนการพัฒนาชุมชนที่เมหาะสมและมีประสิทธิภาพ การนำความรู้ไปพัฒนาทรัพยากร และจัดการอย่างยั่นยืน เป็นกระบวนการที่สั่งสมประสบการณ์ของชุมชนและการผสมผสานเทคโนโลยีความรู้สมัยใหม่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ มีเศรษฐกิจที่มั่นคง สิ่งแวดล้อมยั่งยืน ครอบครัวอบอุ่น มีกลไกปกครองตนเองที่เข้มแข็ง และการศึกษาที่เหมาะสมกับสถานการณ์และนโยบายการพัฒนาข้างต้นผนวกกับแนวทางจัดการศึกษาตลอดชีวิต มีส่วนสำคัญในการค้นหา ส่งเสริม และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนต่างๆ ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนสังคมนั้น เพื่อให้ผู้สนใจหรือต้องการโดยเฉพาะอย่างยื่งคนในชุมชนเข้ามาเรียนรู้ได้ทุกเวลา
จากบทความเรื่อง “ปฏิรูปการเรียนรู้สู่ระบบเกษตรกรรมยังยืนและคุณภาพชีวิตเกษตรกร โดยรศ.บำเพ็ญ เขียวหวานและคณะทำงาน จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้เปรียบเทียบภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยังยืนของ 4 ภาคส่วนคือ ภาครัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน และชุมชนโดยมีสาระสำคัญคือ
1.ภาครัฐ
1.1 ลักษณะการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์เรียนรู้ ด้วยการฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เช่น หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนับสนุนผ่านศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่มีองค์ความรู้ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อให้ปราชญ์ ผู้รู้ หรือวิทยากรดำเนินการจัดฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ ในกรณีที่เป็นการฝึกอบรมจะมีการออกแบบเป็นหลักมีวัตถุประสงค์ กำหนดกลุ่มเป้าหมายและจำนวนรวมทั้งการประเมินและจัดทำราย
งานผลการอบรมอย่างชัดเจน
1.2 องค์ความรู้ ที่ผ่านมาส่วนใหญ่มาจากตำรา งานวิจัย ทำให้มีข้อจำกัดต่อการนำไปใช้ในบางพื้นที่และไม่สามารถแก้ปัญหาของเกษตรกรได้
- การจัดการ เป็นการจัดการเรียนรู้ทางด้านเทคนิคตามนโยบายหรือภารกิจของหน่วยงาน องค์กร ที่ให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดเชิงปริมาณทำเป็นอุปสรรคสำคัญในการออกแบบหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นตามกลุ่มเป้าหมายที่มีความแตกต่างกัน และอาจพบว่าความรู้ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่ถ่ายทอดให้ประชาชนอาจขาดความเชื่อมโยงกับบริบทและวิถีชีวิตชุมชน
2.สถาบันการศึกษา
2.1 ลักษณะการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์เรียนรู้
-จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง 8 กลุ่มสารระการเรียนรู้ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือเทียบเท่า
-เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
-เรียนรู้จากเกษตรกรต้นแบบและคนทำงานกับเกษตรกร
-เรียนรู้จากการปฏิบัติ
-เรียนรู้โดยผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งกระแสหลักในท้องถิ่นและ สื่อวิทยุ โทรทัศน์ทั่วไป
-เรียนรู้ทางไกล สื่อวีดีทัศน์กับE-learning
2.2 องค์ความรู้
ได้รับความรู้จากการศึกษาภาคเกษตรที่ผลิตบัณฑิต แต่พบว่าบัณฑิตไม่กล้าที่จะใช้ชีวิตเกษตรกร การให้คุณค่าอาชีพเกษตรกรด้อยลง
2.3 การจัดการ
โดยส่งเสริมการรวบรวมตัวกันของเด็กและเยาวชนที่มีความจริงใจจากการปฏิบัติจริง มีการประสานงานให้สำนักงานเกษตรจังหวัดเป็นผู้ประสานความร่วมมือกับจังหวัดต่าง ๆ เพื่อเข้าไปส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียนทั่วประเทศให้ต่อเนื่องทุกปีพร้อมสร้างยุวเกษตรกรในโรงเรียนใหม่ที่ยังไม่เคยมีกลุ่มยุวเกษตรกรเน้นกลุ่มนักเรียนชั้นป.4 ป.5 ป.6 – มัธยมตอนปลาย โดยเน้นสร้างจิตสำนึกและกระตุ้นให้นักเรียนและเยาวชนเห็นความสำคัญ และมีใจรักในอาชีพการเกษตรมากขึ้น เพราะภาคเกษตรมีความสำคัญมากต่อประเทศโดยมีการปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง
3.ภาคเอกชน ในที่นี้หมายถึงองค์กรพัฒนาเอกชน
3.1 ลักษณะการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์เรียนรู้
-จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
-จัดประชุม สัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ต่างๆ
-จัดกิจกรรมศึกษาดูงานตามแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย
3.2 องค์ความรู้ มาจากองค์ความรู้ที่รวบรวมไว้ จากการวิจัย และการจัดการความรู้ทั้งด้านเนื้อหา องค์ความรู้ รูปแบบ และจากการถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
3.3 การจัดการ
จัดการตามวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ส่วนใหญ่มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน
4.ภาคชุมชน
4.1 ลักษณะการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์เรียนรู้
-จัดฝึกอบรม
-จัดประชุม สัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ต่างๆ
4.2 องค์ความรู้
ส่วนใหญ่มาจากความสนใจหรือปัญหาที่พบระหว่างการผลิต การค้นหาทางแก้ไขด้วยการไปเรียนรู้จากที่อื่น นำมาทดลองใช้ในพื้นที่ และเรียนรู้จากความสำเร็จและความผิดพลาดเหล่านี้
4.3 การจัดการ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่ดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจมีศักยภาพที่แตกต่างกันไป