โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Theobroma cacao L. 
วงศ์ :     Malvaceae
ชื่อสามัญ :  Chocolate Tree, Cacao, Cocoa
ชื่ออื่น : –

ถิ่นกำเนิด:

        โกโก้ มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศของทวีปอเมริกากลาง และเม็กซิโกตอนใต้ เป็นพืชที่พบได้ทั่วไปในแถบประเทศร้อนชื้น ระหว่างละติจูดที่ 20 องศาเหนือ ถึงละติจูดที่ 20 องศาใต้ โกโก้เป็นพืชดั้งเดิมที่ชนเผ่ามายา และชาวแอชเทคส์ (ประเทศเม็กซิโก) ได้มีการปลูก และนำมาประกอบอาหารเป็นชนชาติแรกๆ ต่อมาชนชาติยุโรปได้รู้จักการใช้ประโยชน์จากโกโก้
        ในประเทศไทยมีการปลูกโกโก้มาในแถบจังหวัดทางภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฏร์ธานี กระบี่ และนครศรีธรรมราช โดยนิยมปลูกแซมในสวนมะพร้าวหรือสวนปาล์ม  และพบได้บ้างเล็กน้อยในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี และตราด

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ :

        ลำต้น โกโก้ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง ลำต้นสูงประมาณ 3-12 เมตร ลำต้นแตกกิ่งแขนงปานกลาง แต่มีใบใหญ่ และดก ทำให้แลดูเป็นทรงพุ่มหนา เปลือกลำต้นมีสีดำอมเทา และแตกเป็นร่องตื้นตามแนวยาว เนื้อไม้แข็งปานกลาง
ใบ โกโก้ เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แตกออกเป็นใบเดี่ยวหลายใบ เรียงสลับข้างกันตามความยาวของปลายกิ่ง ใบแต่ละใบมีลักษณะเป็นหอกหรือรูปไข่กลับ ก้านใบยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขนาดใบกว้างประมาณ5-12 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-40 เซนติเมตร โคนใบมน และสอบแคบ ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเป็นลูกคลื่นจากร่องของเส้นแขนงใบ ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่มีสีเขียวเข้ม มีเส้นแขนงใบแตกออกจากเส้นกลางใบ เยื้องสลับกัน 8-12 เส้น ปลายเส้นแขนงใบยาวจรดขอบใบ
        ดอก ดอกโกโก้ออกเป็นดอกเดี่ยว แต่ออกเป็นกลุ่มชิดกัน 5-15 ดอก ดอกในระยะแรกจะเกิดเป็นตุ่มหรือตาบนกิ่งหรือลำต้น จากนั้นค่อยพัฒนาก้านดอกยื่นยาวออกมาพร้อมกับกลีบดอกตูมที่หุบเรียงช้อนกัน ก้านดอกมีความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อนดอกโกโก้ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ สมารถผสมเกสรได้ด้วยตนเอง ตัวดอกมีขนาดประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ประกอบด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนหรือสีม่วงแดงตามชนิดหรือสายพันธุ์ กลีบเลี้ยงนี้จะห่อหุ้มดอกขณะเป็นดอกตูม และเมื่อดอกบาน กลีบเลี้ยงจะแผ่ออกเป็นรูปหอก จำนวน 5 กลีบ ถัดมาเป็นกลีบดอก จำนวน 5 กลีบ แต่ละกลีบมีรูปหอก มีขนาดเล็ก และสั้นกว่ากลีบเลี้ยง กว้างประมาณ 3-3.5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 3.5-5 มิลลิเมตร แผ่นกลีบดอกมีสีขาวอมชมพู และมีแถบเส้นสีแดงเรื่อตามแนวยาว 2 เส้น มีปลายกลีบโค้งเข้าหาตรงกลางดอก ถัดมาตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร ประกอบด้วยเกสรตัวผู้ มีก้านเกสรมีสีขาวอมแดงเรื่อ ยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ปลายเกสรโค้งหรือม้วน เข้า ถัดมาตรงกลางเป็นเกสรตัวเมีย มีก้านเกสรเล็ก และสั้น สีแดงเรื่อ ส่วนด้านล่างก้านเกสรเป็นรังไข่
        ผล โกโก้ มีลักษณะผลรี คล้ายกับผลมะละกอ ผลออกเป็นผลเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มตามกิ่ง และลำต้น ขนาดผลประมาณ 5-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-30 เซ็นติเมตร ขั้วผลสอบ ท้ายผลแหลม เปลือกผลแบ่งเป็นกลีบๆ ตามแนวยาวของผล ประมาณ 8-12 กลีบ ผิวเปลือกขรุขระ หรือบางพันมีผิวเรียบ ไม่มีร่อง  ผลอ่อนมีสีเขียว หรือสีเขียวแดง ผลสุกมีสีเหลือง และสุกจัดเปลี่ยนเป็นสีแดงอมเหลืองหรือสีแดงอมม่วง ตามชนิดหรือสายพันธุ์ เปลือกค่อนข้างหนา ผลจะสุกภายใน 5-6 เดือน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มหรือสีม่วงแดง เยื่อเปลือกด้านในสุดมีสีขาว ภายในมี 30 – 45 เมล็ด เรียงขวางซ้อนกันเป็นแถว ประมาณ 5 แถว
        เมล็ด เมล็ดโกโก้มีลักษณะรี และแบนเล็กน้อย ถูกหุ้มด้วยเยื่อเมล็ดสีขาวใส เยื่อเมล็ดอ่อนนุ่ม และฉ่ำน้ำ ซึ่งให้รสหวาน ปลายเมล็ดทั้งสองด้านมน เนื้อเมล็ดแน่น มีสีน้ำตาล ขนาดเมล็ดประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร

การขยายพันธุ์ :

        เพาะเมล็ดโดยการเลือกเมล็ดจากผลแก่จัดคาต้น สมบูรณ์  คุณภาพดี  ไม่มีโรคและแมลง  ต้นแม่ให้ผลผลิตดกดี  ออกดอกติดผลประจำทุกปี  อยู่ในดงหรือสวนโกโก้ขนาดใหญ่เมล็ดไม่มีระยะพักตัว  เมื่อได้มาจากต้นแล้วขยำเนื้อและเปลือกเหลือแต่เมล็ดใน  ผึ่งลมแห้งแล้วนำลงเพาะในวัสดุเพาะทั่วไปได้ทันทีโดยให้ส่วนตายอดอยู่ด้านบนและตารากอยู่ด้านล่างเสมอทั้งนี้จะวางเมล็ดแบบแบนราบหรือตั้งขึ้นก็ได้  ภายใน 7 วัน รากจะงอกถ้าไม่งอกแสดงว่าเมล็ดนั้นใช้การไม่ได้ 

การใช้ประโยชน์ :

        – เมล็ดโกโก้ใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขนมโกโก้ชนิดต่างๆ ได้แก่ โกโก้ผง และโกโก้เหลว ช็อคโกแลต
        – ผงโกโก้หรือโกโก้เหลวใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม อาทิ นมโกโก้ และยังเป็นส่วนผสมในขมหวานขนมขบเคี้ยวต่างๆ อาทิ ลูกอม ลูกกวาด ขนมปัง คุกกี้ และเค้ก เป็นต้น
        – ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางหลายชนิด ได้แก่ น้ำหอม ลิปสติก
        – ใช้เป็นสารเติมแต่งกลิ่นในอุตสาหกรรมบุหรี่
        – ใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมผลิตยา
        – ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์

ที่มา : https://wallacemejia.wordpress.com/
https://www.bloggang.com/

บทความแนะนำ