โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Ardisia elliptica Thunb
วงศ์ : Myrsinaceae
ชื่อสามัญ :  –
ชื่ออื่น :  ลังพิสา(ตราด) ทุลังกาสา รวมใหญ่ (ชุมพร) ตาปลา ราม จิงจำ จ้ำก้อง มาตาอาแย ปือนา

ถิ่นกำเนิด :

เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตั้งแต่หมู่เ กาะริวกิว ของประเทศญี่ปุ่น และกระจายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงอินเดียภาคใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม มีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น แต่ไม่มากนัก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ชอบดินทรายหรือดินเหนียว แต่ไม่ชอบดินแฉะ โดยจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าราบ และมีประปรายอยู่ทั่วไป พบได้ตามป่าโปร่ง ป่าดิบเขาทั่วไป ที่ราบสูง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูง 1-4 เมตร แต่อาจสูงได้ถึง 10 เมตร 

– ลำต้น ตั้งตรง กิ่งก้านกลม หรือเป็นเหลี่ยม สีน้ำตาลอมเทา กิ่งอ่อนสีน้ำตาลแดง แตกกิ่งก้านสาขารอบๆ ต้นมาก 

– ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ออกหนาแน่นที่ปลายกิ่ง รูปรีถึงรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5 -5 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ปลายแหลมถึงมน โคนใบรูปลิ่ม ผิวใบและขอบใบเรียบ แผ่นใบมีต่อม เห็นเป็นจุดๆ กระจายอยู่ทั่วไป ใบหนามัน ก้านใบสั้น สีแดง เส้นใบมองเห็นไม่ค่อยชัดเจน

 – ดอก ออกเป็นช่อจากซอกใบ และปลายกิ่ง ช่อละ 4-8 ดอก กลีบดอกสีขาวแกมชมพู ก้านช่อดอกยาว 1.5-2.5 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 8-15 มิลลิเมตร ติดกันที่โคนเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกรูปใบหอก ปลายกลีบดอกแหลม กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก 

– ผล รูปทรงกลมแป้น ผิวเรียบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 6 มิลลิเมตร ผลอ่อนสีแดง เมื่อสุกมีสีม่วงเข้ม 

– เมล็ด เดี่ยว กลม พบตามป่าดงดิบเขาทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

การขยายพันธุ์ :

 ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ชอบดินทรายหรือดินเหนียว แต่ไม่ชอบดินแฉะ โดยจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าราบ และมีประปรายอยู่ทั่วไป บ้างว่าพบได้ตามป่าโปร่ง ป่าดิบเขาทั่วไป ที่ราบสูง

การใช้ประโยชน์ :

– ผลอ่อน ใบอ่อน ยอดอ่อนมีรสชาติฝาดมัน เปรี้ยวอมหวาน ใช้รับประทานเป็นผักเหนาะได้
– มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยได้นำผลสุกของพิลังกาสามาทำเป็น “ไวน์พิลังกาสา” และได้นำไวน์นั้นไปตรวจวิเคราะห์ พบว่ามีสาร Anthocyanin, Phenolic และฟลาโวนอยด์ Phenolic flavannoidเหมาะจะส่งเสริมทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้ เนื่องจากสารเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันเส้นเลือดตีบและเส้นเลือดอุดตัน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระไปทำลายเซลล์ในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไล (E. coli) ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษได้อีกด้วย
– ต้นพิลังกาสาเป็นที่นิยมในการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามสถานที่ราชการหรือตามสวนสาธารณะทั่วไป เพาะปลูกได้ง่าย อีกทั้งดอกยังมีความสวยงามและออกดอกดกเป็นกลุ่มใหญ่

ที่มา : http://www.phargarden.com/
https://medthai.com

บทความแนะนำ