ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda citrifolia Linn.
วงศ์ : Rubiaceae
ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่ง ที่ปลูกหรือภาษา เช่น Noni (จากฮาวาย), Meng kudu (มาเลเซีย), Ach (ฮินดู)
ชื่ออื่น : มะตาเสือ (ภาคเหนือ) ยอ ยอบ้าน (ภาคกลาง) แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ยอ ภาคอีสาน
ถิ่นกำเนิด :
เป็นพืชพื้นเมืองในแถบพอลินีเชียตอนใต้ แล้วแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ภาษามลายูเรียก เมอกาดู ในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเรียกโนนู เป็นไม้ยืนต้น ต้นสี่เหลี่ยม เปลือกต้นเรียบ ใบสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ฐานดอกติดกันแน่นเป็นทรงกลม ผลทรงยาวรี เมื่ออ่อนสีเขียว พอสุกเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล เนื้อนุ่ม รสเผ็ด กลิ่นแรง มีเมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาลเข้ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางลำต้นตั้งตรงสูง ประมาณ 3-8 เมตร เปลือกต้นเรียบแขนงเป็นสี่เหลี่ยม
ใบ : รูปใบรีกว้างติดแบบตรงกันข้ามโคนใบและปลายใบแหลม ขนาดใบกว้าง 6-17 ซม. ยาว 15-30 ซม. เนื้อใบสีเขียวและเป็นมัน หูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบมีรูปร่างและขนาดต่าง
ผล : ผลมีลักษณะค่อนข้างกลมหรือทรงกระบอกมนและมีตารอบผลสีเขียวสด พอแก่จัดเป็นสีขาวนวล และมีกลิ่นเหม็นผลมีขนาด 3-10 ซม.ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้มจำนวนมาก
การขยายพันธุ์ :
ขยายพันธ์โดยการใช้เมล็ด เจริญเติบโตในดินชุ่มชื่น มักปลูกกันในต้นฤดูฝน
การใช้ประโยชน์ :
– ลูกยอสุก นำมาจิ้มกินกับเกลือหรือกะปิ ,ลูกห่ามใช้ทำส้มตำ
– ใบอ่อน นำมาลวกกินกับน้ำพริก ใช้ทำแกงจืด แกงอ่อม ผัดไฟแดง หรือนำมาใช้รองกระทงห่อหมก
– นำมาใช้ทำสีย้อมผ้า รากนำมาใช้ย้อมสีให้สีแดงและสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเปลือกจะให้สีแดง เนื้อเปลือกจะให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าบาติก นำมาใช้แกะสลัก ทำรงควัตถุสีเหลือง
– ปัจจุบันมีการนำลูกไปแปรรูปโดยคั้นเป็น น้ำลูกยอ
– ใบสดมีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ หรือนำมาเลี้ยงตัวหนอนไหม
ที่มา http://www.sptn.dss.go.th/
https://medthai.com/