โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Ananas comosus (L.) Merr. Ananas sativus Schult.f.
ชื่อวงศ์ :  Bromeliaceae
ชื่อสามัญ : Pineapple
ชื่ออื่น : สับปะรด ,สับปะรด, มะขะนัด มะนัด ,บ่อนัด ,เนะซะ ,ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด ,ม้าเนื่อ

ถิ่นกำเนิด :

      มะม่วงหิมพานต์ มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศอเมริกาใต้บริเวณแถบประเทศบราซิล แล้วค่อยแพร่กระจายไปสู่ทวีปแอฟริกา อเมริกาเหนือ ยุโรป และทวีปเอเชีย โดยในช่วงแรกที่นิยมปลูกในทวีปอเมริกาจะเป็นการปลูกเพื่อปลูกเพิ่มพื้นที่ป่า ซึ่งปลูกทั่วไปในแทนซาเนีย ไรบีเรีย และประเทศอื่นๆ ต่อมาประมาณศตวรรษที่ 16 ชาวโปรตุเกสได้นำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์เข้ามาทดลองปลูกในประเทศอินเดีย ซึ่งสามารถเติบโต และให้ผลได้ดีมาก จึงนิยมปลูกกันมากขึ้น โดยเฉพาะการปลูกตามชายฝั่งเพื่อเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะตามชายฝั่ง ซึ่งสามารถป้องกันการกัดเซาะอย่างได้ผลดี และมีการขยายปลูกเพื่อการค้ามากขึ้น ซึ่งขณะนั้น           เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่อินเดียได้ยังกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศจนส่งออกเป็นรายใหญ่ของโลก จากนั้น จึงแพร่ลงมาทางประเทศศรีลังกา และแพร่เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มาเลเชีย และเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคใต้ มะม่วงหิมพานต์

      ถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2444 ที่ถูกนำเข้ามาพร้อมกับยางพาราจากประเทศมาเลเชีย โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (ดอซิมบี้ ณ ระยอง) ซึ่งดำรงตำแหน่งเทศาภิบาลจังหวัดตรัง พร้อมกับทดลองปลูกครั้งแรกที่จังหวัดตรัง ซึ่งต่อมาจึงเริ่มนิยมปลูกมากขึ้นในภาคใต้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

      ลำต้น มะม่วงหิมพานต์ เป็นไม้ยืนต้นไม่พลัดใบขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 6-12 เมตร ลำต้นแตกกิ่งแขนงหลักปานกลาง แต่มีกิ่งย่อยมาก กิ่งแขนงหลักแตกออกเป็นแนวขนานกับพื้นดินทำให้รูปทรงพุ่มเป็นรูปร่ม กว้างประมาณ 4-10 เมตร

      ใบ ใบมะม่วงพิมหานต์ มีขนาดค่อนข้างใหญ่ โคนใบสอบแคบ และค่อยๆขยายใหญ่ขึ้นจนถึงปลายใบ โดยปลายใบค่อนข้างมนหรือเป็นป้าน ขนาดใบยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ขนาดกว้างสูงสุดที่ปลายใบประมาณ 5-8 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบ และเกลี้ยงเป็นมัน แผ่นใบมีสีเขียวสด มีเส้นกลางใบสีเขียวอ่อนขนาดใหญ่ พร้อมแตกเส้นแขนงใบออกในแนวตรงจากกลางใบ

      ดอก มะม่วงหิมพานต์ ออกเป็นช่อตรงซอกใบบริเวณปลายกิ่ง แต่ละช่อจะมีก้านช่อย่อย 5-10 ก้าน เรียงสลับกันบนก้านช่อหลัก ก้านดอกอ่อนมีสีชมพู แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีขาว และสีเขียวเมื่อแก่ขึ้น แต่ละก้านช่อจะมีดอก 10-30 ดอก ทั้งนี้ ในก้านดอกหลักจะมีดอก 3 ประเภท คือ ดอกตัวผู้ มีประมาณร้อยละ 96 ดอกตัวเมีย และดอกสมบูรณ์เพศ ซึ่งดอก 2 ชนิดหลัง จะรวมกันแล้วประมาณร้อยละ 4 ซึ่งดอกจะสามารถผสมเกสรได้เองภายในช่อดอกเดียวกัน และจะติดผลเพียงไม่กี่ผลต่อช่อเท่านั้น

      ดอกจะประกอบด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนหุ้มบริเวณโคนดอก ถัดมาเป็นกลีบดอกที่มีสีเหลืองอมขาว จำนวน 5 กลีบ เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะมีสีอมแดงเรื่อบริเวณโคนกลีบ กลีบดอกมีลักษณะเรียว ปลายกลีบแหลม ถัดมากลางดอกเป็นเกสรตัวผู้ 7-10 อัน และเกสรตัวเมีย

      ผล และเมล็ด มะม่วงหิมพานต์ เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีลักษณะผลแปลกประลาด กล่าวคือ ส่วนที่อวบ และมีสีแดง มีลักษณะคล้ายผลชมพู่ ซึ่งเรามักเข้าใจว่าเป็นผลจริง แท้จริงแล้ว คือ ผลเทียม ซึ่งเป็นส่วนของก้านผลที่ขยายอวบนูนขึ้น ส่วนผลแท้เป็นส่วนที่มีรูปคล้ายไตห้อยอยู่ด้านล่าง

      ผลเทียม เป็นส่วนที่เป็นก้านผล แต่มีการพองขยายตัวจนมีรูปร่างคล้ายผลจริงเหมือนกับผลไม้ทั่วไป ผลเทียมจะมีรูปร่างคล้ายผลชมพู่ แต่ตรงขั้วผลจะไม่สอบแคบเหมือนผลชมพู่ ขนาดผลยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกจะมีสีแดงเรื่อหรือสีชมพูหรือสีเหลืองตามสายพันธุ์ ภายในผลประกอบด้วยเนื้อผลที่ฉ่ำด้วยน้ำ ให้รสหวานอมฝาด หากสุกน้อยจะฝาดมาก หากสุกมากจะมีรสหวานเพิ่มขึ้น แต่ยังคงรสฝาดไว้เหมือนเดิม ทั้งนี้ ที่ปลายผลจะห้อยด้วยผลแท้ที่มีรูปร่างคล้ายไต•

    ผลแท้ เป็นส่วนที่มีรูปร่างคล้ายไต ห้อยติดด้านล่างของผลเทียม ผลเมื่ออ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเทาหรือสีน้ำตาล ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ประกอบด้วยเปลือกหุ้มผลที่หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ด้านในเป็นที่อยู่ของเมล็ดที่มีรูปคล้ายไตเช่นกัน แบ่งออกเป็น 2 ซีก ประกบกันอยู่ เนื้อเมล็ดนี้มีสีขาว เมื่อนำมาคั่วไฟจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้รับประทาน เนื้อเมล็ดมีความกรอบ มีกลิ่นหอม ให้รสมันอร่อย ทั้งนี้ เมื่อปอกเปลือกแล้วจะเหลือเนื้อเมล็ดประมาณ 25% ส่วนอีกประมาณ 75% จะเป็นเปลือกที่หุ้มด้านนอก

      การพัฒนาของผลแท้ และผลเทียมในระยะแรก ผลแท้จะพัฒนาขยายใหญ่กว่าผลเทียม จากนั้น เมื่อโตเต็มที่จะคงตัว และค่อยเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเทาอมน้ำตาล ส่วนผลเทียมจะค่อยๆพัฒนาขยายใหญ่ขึ้นทีหลัง จนมีขนาดผลใหญ่กว่าผลแท้หลายเท่า สำหรับเปลือกผลแท้ที่หุ้มเมล็ดจะน้ำยางสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก สามารถบีบคั้นได้ หรือโดยเฉพาะเมื่อนำมาเผาไฟจะเห็นเป็นน้ำยางไหลเยิ้มออกมา และลุกติดไฟได้ดี และหากน้ำยางนี้ถูกผิวหนังก็จะทำให้เกิดเป็นแผลเปื่อยได้ง่าย เนื่องจากมีสภาพเป็นกรดสูง แต่น้ำยางนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในหลายด้านด้วยกัน

การขยายพันธุ์ :

เพาะเมล็ด ,ตอน ,ปักชำ ,ทาบ ,ติดตา ,เสียบยอด 

ประโยชน์ :

  1. ระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจงานวิจัยพบว่า การรับประทานถั่ว เช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ซึ่งอาจเกิดผ่านการลดความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี
  2. การมองเห็นโดยในเม็ดมะม่วงหิมพานต์นี้มีลูเทอิน (lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หากรับประทานสม่ำเสมอในปริมาณที่สูง สารเหล่านี้จะช่วยป้องกันการทำลายดวงตาจากแสง (ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการตาบอดในผู้สูงอายุ) และอาจจะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคต้อกระจกได้
  3. การควบคุมน้ำหนักงานวิจัยหนึ่งพบว่า การรับประทานถั่ว 1 กำมือต่อวัน สามารถช่วยต่อสู่กับโรคหัวใจและหลอดเลือดเบาหวาน และมะเร็งได้การเปลี่ยนจากการรับประทานไขมันจากสัตว์ และโปรตีน มาเป็นไขมันชนิดที่ไม่อิ่มตัวที่พบในเม็ดมะม่วงหิมพานต์นั้นเป็นวิธีที่ดีในการควบคุมน้ำหนัก ลดไขมันและคอเลสเตอรอลที่อยู่ภายในร่างกาย
  4. ต้านโรคเบาหวานสารสกัดจากเม็ดมะม่วงหิมพานต์มีประสิทธิภาพในการต้านโรคเบาหวาน โดยสามารถกระตุ้นให้เกิดการลำเลียงน้ำตาลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น มีผลควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และป้องกันภาวะดื้อต่ออินซูลิน(Insulin Resistance)
  5. ชะลอวัยยอดมะม่วงหิมพานต์มีประสิทธิภาพในการต้านสารอนุมูลอิสระสูงมาก มีค่า ORAC (Oxygen Radical Absorbance Capacity) เป็นค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของอาหาร สูงถึง 7,278 ไมโครโมลทีอีจึงช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทำลาย และชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของความแก่ได้

ที่มา : https://puechkaset.com
https://hd.co.th

บทความแนะนำ