โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

        ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และใช้เป็นกรอบนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ รวมถึงการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13  และแผนระดับอื่นๆ นั้น มีข้อสังเกตและตั้งคำถามว่า สถานะแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 13 นั้นอยู่ตรงไหน และสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่ ? หรือกรณีกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ว่าด้วยความมั่นคงจะเห็นได้ว่าคณะกรรมการฝ่ายความมั่นคง ประกอบไปด้วยตัวแทนจากองค์กรธุรกิจแทบทั้งหมด โดยไม่มีภาคประชาชนเป็นตัวแทนในการมีพื้นที่แสดงความคิดหรือต่อรอง และเชื่อมโยงภาคประชาชน จึงเป็นข้อจำกัดที่จะทำให้แผนฯ 13 ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของภาคประชาชนอย่างแท้จริง

        หากพิจารณาเป้าหลักแผนฯ 13 จะพบว่า หมุดหมายยังเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก ดังนั้น หากประเมินแผนฯ 13 ที่กำลังถกเถียงกันอยู่นี้ ขอเสนอใน 3 ประเด็น คือ

  1. เป้าหมายของแผนฯ 13 สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการของแผน ฯ 13 เองหรือไม่ ? คำตอบ คือไม่ ทิศทางของแผนฯ 13 ทางด้านการเกษตรเน้นพืชเชิงเดี่ยว ถึงแม้จะมีคำที่กล่าวถึง การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น แต่ตัวชี้วัดยังหมายถึงการเพิ่มมูลค่าเกษตรเชิงเดี่ยว ไม่ว่า หมอนทอง ข้าวมะลิ ผ้าไหม ซึ่งในความเป็นจริงภูมิปัญญาและความรู้ในการผลิตเกิดขึ้นจากการพัฒนาของตัวเกษตรกร หรือชุมชน ซึ่งในแผนฯ 13 ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้และภูมิปัญญาที่เกิดมาจากเกษตรกร
  2. กรอบแผนฯ 13 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หรือไม่ ? คำตอบ คือไม่ ตามที่เป้าหมายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ซึ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ความสำคัญการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ การรักษาความหลากหลายฐานชีวภาพ การสร้างความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งระบุอยู่ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ไม่ถูกเสนอในแผนฯ 13 ในขณะที่มติของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้มีข้อเสนอในประเด็นความมั่นคงทางอาหารที่ต้องบรรจุในกรอบแผนฯ 13
  3. กรอบแผนฯ 13 ตอบสนองวิกฤตที่เกิดขึ้นหรือไม่ ? คำตอบ คือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด – 19 ที่เป็นอยู่ ในแผนฯ 13 กลับไม่มีมิติแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายใต้วิกฤตโควิดที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เกิดการผูกขาดทางการค้า เกิดการล้มสลายทางการค้าของชุมชนท้องถิ่น แต่อย่างใด

        ทั้งนี้ ปัญหาสำคัญที่ทำให้ประเด็นเหล่านี้ไม่ถูกนำเสนอ หรือบรรจุในแผนฯ 13 ก็คือการดำเนินการเพื่อร่าง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ที่ผ่านมาไม่ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างจริงจัง

        ดังนั้น ข้อเสนอสำหรับการดำเนินงานของภาคประชาชน คือ การทำงานร่วมกับคนรุ่นใหม่ และพรรคการเมือง เพื่อเป็นพื้นที่ในการทำความเข้าใจและผลักดันข้อคิดเห็นและข้อเสนอของภาคประชาชน

บทความแนะนำ