- ที่มาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแนวร่วมปฏิวัติขยะ จังหวัดสุพรรณบุรี
ประธานวิสาหกิจชุมชนอดีตที่ปรึกษาของธนาคารแห่งหนึ่ง มีความสนใจเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ จึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพื่อมาเรียนรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์และกลับมาอยู่ที่บ้านเกิด จึงได้ไปเรียนรู้เรื่องจุลินทรีย์ที่ช่วยในการย่อยสลายและเพิ่มคุณภาพให้ดิน การทำสวนที่ตั้งใจต้องรอเวลาเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตยังไม่ประสบความสำเร็จในทันที
สมาชิกของวิสาหกิจชุมชนไม่ได้ร่วมตัวกันจากชุมชนเดียวกัน แต่รวมสมาชิกจากคนที่มีแนวคิดเดียวกัน ซึ่ง แกนนำส่วนใหญ่เป็นข้าราชการเกษียณ มีความสนใจและเกี่ยวข้องกับเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลังจากที่ได้ไปดูงาน เห็นทิศทางการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันคือ BCG Model (Bio-Circular-Green Economic) “ต้องการให้บ้านเมืองสะอาด เกษตรกรได้ใช้น้ำมันราคาถูก” ผู้ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกมีประสบการณ์และความชำนาญในการถ่ายทอด เช่น การสอนนักเรียนทำปุ๋ยหมัก ปลูกผักโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง
ชื่อของกลุ่มผ่านการหารือร่วมกัน และมีเป้าหมายให้เกิดผลสะเทือน ได้รับความสนใจ เมื่อได้ยินได้เห็นแล้วต้องเข้าใจถึงเป้าหมายของกลุ่ม
ปี พ.ศ. 2558-2559 ได้ร่วมกลุ่มทำกิจกรรม เก็บขยะอินทรีย์ (เศษอาหาร)
“ขยะหอม” กิจกรรมแรกของกลุ่ม ซึ่งได้รับคำชวนจากอาจารย์ที่สอนเรื่องจุลินทรีย์ ให้นำความรู้เรื่องจุลินทรีย์มาจัดการขยะเศษอาหาร โดยรับซื้อขยะเศษอาหารจากครัวเรือนในราคา 0.50 บาท มีครัวเรือนเข้าร่วมกว่าหนึ่งร้อยครัวเรือน สามาชิกในกลุ่มนำอุปกรณ์ไปรับซื้อ ได้แก่ ตะกร้า ถังรับเศษอาหาร และจุลินทรีย์เพื่อราดดับกลิ่น ทำร้าน 0 บาท เพื่อรับขยะมาแลกดับสินค้าในชีวิตประจำวัน กิจกรรมได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในช่วงเวลา 8 เดือน ต้นทุนที่ต้องใช้จ่ายยังไม่สามารถดูแลกิจกรรมได้ทั้งหมดจึงต้องพักโครงการ
สมาชิกที่ได้ร่วมกิจกรรม เช่น แม่ค้าขายผลไม้นำเปลือกสับปะรดมาขาย ได้รายได้ตกเดือนละพันกว่าบาท ร้านอาหารตามสั่งที่ขายเศษอาหารให้กับกลุ่ม นำเศษอาหารมาแลกกับ น้ำปลา น้ำมัน ข้าว ที่เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร “ไม่ต้องใช้เงินซื้อ ใช้เศษขยะที่เขาทิ้ง”
ปี พ.ศ. 2562 ได้ไปศึกษาดูงาน และระดมหุ้มเพื่อตั้งวิสาหกิจชุมชนฯ
เสียงสะท้อนจากกิจกรรมเดิมที่หยุดพักทำให้รู้สึกติดค้าง แต่ประสบการณ์ที่ได้ขับเคลื่อนกิจกรรมขยะหอม ถือว่าเป็นการส่งเสริมเรื่องการคัดแยกเบื้องต้น และเห็นว่า “ถุงพลาสติก” ทำได้เพียงแยกออกจากเศษอาหารแต่ยังไม่มีวิธีจัดการด้วยชุมชนเองได้ จึงได้ไปศึกษาดูงานกับมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์เพื่อศึกษานวัตกรรมนำถุงพลาสติกมาทำน้ำมัน หลังจากไปดูงานได้กลับมาหารือร่วมกัน โดยเริ่มต้นจากแนวคิดที่ต้องการให้ชุมชนเห็นตัวอย่างผลผลิตที่ได้จากการคัดแยกขยะ จึงเริ่มเขียนแผนธุรกิจเพื่อให้เห็นทางออกของขยะถุงพลาสติก ผนวกกับสถานการณ์บ่อฝังกลบขยะที่สุพรรณบุรี เหลือเพียง 1 บ่อที่ถูกกฎหมาย แต่ก็เริ่มมีปัญหาการร้องเรียง ระดมหุ้นจากสมาชิกและคนที่รู้จัก ได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามอและสามารถร่วมรวมทุนได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
สวนพุทธชาต พื้นที่ขนาด 3 ไร่ ถูกจัดเตรียให้เป็นศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ที่เน้นเรื่องการนำถุงพลาสติกมาทำน้ำมัน รวมทั้งฐานเรียนรู้เรื่องปุ๋ยอินทรีย์ นำเศษอาหารมาทำปุ๋ยภายใน 24 ชั่วโมง และขยายผลการจัดการขยะโฟม เกิดเป็นฐานเรียนรู้เรื่องการปั้นหินเทียม และกิจกรรมที่เชื่อมระหว่างกลุ่มกับชุมชนก็คือร้านรวยน้ำใจ ที่พัฒนาแนวคิดมาจากธนาคารขยะ
- ทางออกของขยะพลาสติก เทคโนโลยีการผลิตน้ำมันจากขยะเศษถุงพลาสติกด้วยกระบวนการไพโรไรซิส
กระบวนการแปรรูปพลาสติกไปเป็นน้ำมัน โดยใช้กระบวนการไฟโรไรซิส ซึ่งเป็นกระบวนการหลอมอัดอากาศ ได้แก๊ส โดยไม่ให้ออกซิเจนในกระบวนการเพื่อไม่ให้เกิดคาร์บอนมอนออกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อไม่ให้เกิดมลพิษ แต่ยังมีจุดที่เกิดเขม่าจากการใช้เชื้อเพลิงแข็ง (ไม้=ฝืน) จึงต้องมีการนำไปผ่าน scrubber (ตัวดักจับเขม่า) เพื่อไม่ให้เกิดมลพิษ กระบวนการเบื้องต้นมีดังนี้
- ระบบป้อนพลาสติก เริ่มที่เครื่องฉีกพลาสติก พลาสติกที่จะเข้ากระบวนการต้องเป็นพลาสติกที่ผ่านการคัดแยก ล้างและตากให้แห้ง ย่อยให้มีขนาดเล็กเพื่อให้หลอมได้สะดวก พลาสติกหากไม่รับการจัดการจะถูกทิ้งลงบ่อขยะ
- นำพลาสติกที่ย่อยชักลอกขึ้นไปด้านบนเตาปฏิกรณ์ เตาปฏิกรณ์แบ่งเป็น 2 วง วงในคือ reactor ที่จะหลอมพลาสติกเมื่ออุณภูมิสูงถึง 300 องศาเซลเซียส และความร้อนจะสูงไปถึงประมาณ 4-500 องศา พลาสติกจำนวน 100 กิโลกรัม ใช้เวลาหลอมด้วยความร้อนประมาณ 4-5 ชั่วโมง
- เตาปฏิกรณ์จะให้ความร้อนด้วยเชื้อเพลิงแข็ง (ไม้=ฝืน) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่หาได้ง่าย และสามารถควบคุมต้นทุนได้ดีกว่าการใช้เชื้อเพลิงประเภทอื่น
- พออุณหภูมิสูงถึง 300 องศา พลาสติกกลายเป็นของเหลว แก๊สจะออกผ่านท่อสีขาว มาผ่านรังผึ้งเพื่อให้ได้น้ำมัน (หอควบแน่น) ได้เป็นของเหลว พออุณหภูมิเหมาะจะได้เป็นน้ำมัน น้ำมันที่ได้จะส่งไปตรวจที่ศูนย์เชื้อเพลิงที่จุฬาฯ วิทยาเขตสระบุรี เพื่อนำไปสตรวจสอบว่า น้ำมันเบนซินที่ได้มีดีเซลปนด้วยหรือไม่ หากมีปนต้องนำไปต้นเพื่อแยกออก เมื่อแยกแล้วจะนำไปตรวจสอบอีกครั้ง เพื่อให้ทราบชนิดน้ำมันที่ได้ในองค์ประกอบที่ถูกต้อง ส่วนใหญ่ผลผลิตที่ได้จะเป็นดีเซลที่มีเบนซิลปน ซึ่งต้องตรวจสอบตามล็อต เพราะหากนำไปใช้เลยจะทำให้เครื่องยนต์มีปัญหา ซึ่งจะผลิตและรวบรวมให้ได้ปริมาณ 2,000 ลิตรเพื่อส่งตรวจก่อนจะนำไปขาย อีกสาเหตุที่การตรวจสอบช่วยได้คือ ฤดูฝนพลาสติกมีความชื้นสูง บางครั้งมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ การส่งตรวจจะทำให้สามารถปรับปรุงคุณภาพได้ก่อน
- นำเข้าเชื้อเพลิงแข็งเพื่อให้ความร้อน ซึ่งทำให้เกิดเขม่า เขม่าดำจะออกมาและนำไปผ่าน scrubber เพื่อผ่านการหล่อเย็น ได้ผลผลิตเป็นน้ำส้มควันไม้
- กากตะกอนเป็นส่วนที่มีโอกาสจะกลายเป็นมลพิษ หากไม่เลือกพลาสติกที่จะนำมาเข้ากระบวนการ เช่น PVC จะเกิดคอลไรด์ ซึ่งคลอไรด์คือสารพิษ สังเกตจาก PVC เป็นพลาสติกแข็ง ซึ่งเป็นพลาสติกที่ต่างกันกับถุงทั่วไปตั้งแต่การผลิต จึงไม่แนะนำให้นำเข้ากระบวนการฯ พลาสติกทั่วไปในชีวิตประจำวันสามารถนำกระบวนการฯเข้าได้หมด แต่ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซองที่เคลือบสีจะผลิตน้ำมันได้น้อย และทำให้เกิดกากตะกอน จึงไม่นิยมนำมาเข้ากระบวนการ
**สิ่งที่ไม่นำเข้ากระบวนการ 1. พลาสติก PVC 2. โฟม ซึ่งโฟมผลิตมาจากน้ำมัน แต่จากกระบวนการทางเคมี โฟมมีสารไซยาไนโนด์ จึงไม่ควรนำเข้ากระบวนการฯ 3. ยางรถยนต์ เพราะต้องใช้ความร้อนสูงถึง 800 องศาเซลเซียส และสร้างมลพิษสูง
ต้นทุนการติดตั้งเครื่องหลอมด้วยกระบวนการไพโรไรซิสที่ผ่านการปรับปรุงแล้วราคารวมเครื่องต้มอยู่ที่ประมาณ 2,000,000 บาท ซึ่งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีงบประมาณที่สามารถช่วยสนับสนุนชุมชน ต้นทุนแปรผันในการผลิต ได้แก่ พลาสติก เชื้อเพลิง ค่าแรง ค่าไฟในการเดินเครื่องจักร สิ่งสำคัญคือการจัดการต้นทุน “เงินลงทุนครั้งแรก” การบำรุงรักษาทำอย่างต่อเนื่องทุกเดือนค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไม่สูงมาก หากมีเตาแบบนี้กระจายอยู่ทั่วประเทศ ก็ทำให้การขนส่งมีความสะดวกมาขึ้น ไม่ต้องส่งในระยะทางที่ไกลเกินไป เพราะพลาสติกน้ำหนักเบา แต่มีปริมาตรใหญ่ ต้องใช้รถใหญ่ในการขน ข้อดีของการเป็นวิสาหกิจคือเราไม่จำเป็นต้องเสียภาษีสรรพสารมิตร เป็นผลประโยชน์ให้กับเกษตรกรไทย “หากการผลิตลักษณะนี้โดนเก็บภาษี จะไม่สามารถสู้บริษัทใหญ่ได้เลย”
เครื่องถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการทำงานของชุมชน กำลังการผลิตสามารถหลอมพลาสติก 400 กิโลกรัม มีมอเตอร์ในการจัดการ ใช้แรงงานคนน้อย เพียง 1 คนก็สามารถทำงานได้ แต่เพื่อความรัดกุมจึงควรมี 2 คน เพื่อความปลอดภัย ขณะนี้กำลังพัฒนาระบบตรวจจับ pm 2.5 เพื่อดูแลสุขภาพของคนที่เข้ามาดูงาน และคนทำงานในบริเวณเครื่อง มีแผนขยายโรงเก็บน้ำมันให้เป็นสัดส่วนมากขึ้น ต้นทุนการผลิตตัวแปรอยู่ที่ค่าแรง และค่าพลาสติก ซึ่งหากไม่ต้องซื้อก็จะสามารถลดต้นทุนไปได้
- ร้านรวยน้ำใจ สินค้าในร้านมาจากน้ำใจของผู้คน ที่นำมาแลกเปลี่ยนกัน
เป้าหมายคือต้องการรณรงค์คัดแยกขยะที่ต้นทาง โดยที่ประชาชนจะต้องเป็นผู้ที่แยกเอง ไม่ใช่สมาชิกเป็นผู้มาแยกให้ ได้แก่ ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋องอะลูมิเนียม กระดาษ และเศษอาหาร โดยจะเน้นทำกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนคัดแยกเองได้ ตั้งแต่เด็กไปถึงผู้สูงอายุก็สามารถแยกเองได้ ต่อมาคือการลดปริมาณขยะ อันดับแรกคือขายได้เงิน สองคือนำขยะไปรีไซเคิล ฉะนั้นจะเห็นว่า “ทุกอย่างมีราคาหมด” สิ่งสำคัญคือ “การแยกที่ต้นทาง” ต้องแยกเศษอาหารออกจากขยะประเภทอื่นให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะนำมาจัดการต่อได้ง่ายและไปต่อได้อีก เมื่อทุกคนมีความเข้าใจเรื่องการคัดแยกและทำอย่างเนื่อง จึงได้จัดทำกิจกรรมเสริมสร้างกำลังใจให้ผู้ที่คัดแยกขยะ เกิดการแลกเปลี่ยนเป็นสินค้ากับขยะที่ผ่านการคัดแยกแล้ว
ซึ่งร้านรวยน้ำใจพัฒนามาจากแนวคิดธนาคารขยะ ของที่ได้รับบริจาคมาทั้งรองเท้าและเสื้อผ้านำมาเข้ากิจกรรมรับแลกขยะทั้งหมด ซึ่งจะไม่แจกจ่ายไปโดยฟรีๆ ขณะนี้สามารถดูแล “ร้าน” และ “เลี้ยงตัวเองได้” โดยไม่ต้องใช้ทุนจากส่วนอื่นแล้ว
กิจกรรมได้รับงบประมาณจากสถาการณ์โรคระบาดโควิด-19 ได้นำงบประมาณส่วนนี้มาจ้างงานเพื่อสร้างคนให้มีความรู้เรื่องการจัดการขยะ รู้วิธีการคัดแยกที่ทำให้เกิดรายได้ รับซื้อและนำไปขายต่อเป็น และสร้างสรรค์นำไปต่อยอดให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ซึ่งได้สร้างงานให้คนในชุมชนแล้วจำนวน 5 เดือน
- หินเทียม นำโฟมไปเป็นโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง
โฟมเป็นโจทย์ต่อมาจากถุงพลาสติกที่ยังไม่มีที่ไปในเบื้องต้น จึงได้ทดลองนำโฟมมาทำเป็นโครงสร้างเพื่อนำมาประดับ เพื่อทดแทนการช้หินจากธรรมชาติ โดยหมุนเวียนทรัพยากรที่ใช้แล้วให้ไม่ถูกทิ้งไปอย่างสูญเปล่า
วิธีการปั้นหินเทียม เริ่มจากนำเนื้อโฟมมาร่วมกันขึ้นรูปเอาลวดมามัดหรือใช้ไม้เสียบลูกชิ้นมาเป็นแก่นเพิ่มความแข็งแรง และนำปูนซีเมนมาพอกภายนอก เมื่อแห้งแล้วสามารถเติมสีและตกแต่งได้ตามต้องการ วิธีการนี้ช่วยให้ได้วัสดุที่มีความแข็งแรง อีกทั้งลดปริมาณการใช้ หิน ปูน ทราย ไปได้ 50%
- ข้อสังเกตจาการดูงาน
ขนาดเตาฯเผาพลาสติก สามารถปรับขนาดตามความต้องการได้ แต่ขนาดที่เหมาะกับชุมชน ไม่ต้องใหญ่มากเพื่อไม่ต้องขนย้ายพลาสติกมาจำนวนมาก ควรทำที่ขนาดวันละ 200-240 ลิตร ถ้าหากต้องการใหญ่กว่านี้ก็สามารถทำได้ แต่ถ้าหากทำเล็กกว่านี้จะไม่คุ้มทุน จึงสนับสนุนให้ทำในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกันในกลุ่ม
ราคาน้ำมันถือว่าเป็นสิ่งที่ผันผวน แต่จุดสำคัญคือต้องทำให้ชุมขนเข้มแข็งและสร้างอำนาจการต่อรองเพื่อกำหนดราคาและผลิตน้ำมันเองได้ เนื่องจากรูปแบบการผลิตแบบนี้หากเทียบกับการกลั่นน้ำมันของบริษัทใหญ่ต้นทุนการผลิตจะสูงกว่ามาก
สิ่งที่อยากฝากคือเรื่องคาร์บอนเครดิตที่จะช่วยดึงดูดและสร้างแรงจูงใจ ร่วมถึงแนวร่วมชุมชนที่จะช่วยพลังดันไปสู่เป้าหมายร่วมกัน