1. ชื่อกลุ่ม : กลุ่มข้าวไร่บ้านทิพโสต
2. ที่ตั้งและภูมินิเวศ :
2.1 ที่ตั้ง : นายพิชิตพล แสนโคตร เลขที่ 178 หมู่ 4 บ้านทิพโสต ตำบลดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์ 080-4101743
2.2 ลักษณะภูมินิเวศ : บ้านทิพโสต ตำบลดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นพื้นที่ที่ทำการผลิตแบบไร่สลับการทำนา พื้นที่มีลักษณะเป็นที่ดอน นาโคก ดินร่วนปนทราย ที่สูงลูกคลื่นลอนลาดสลับกับพื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน
3. ขนาดพื้นที่นาแปลงรวม : 1.5 ไร่ (จะหมุนเวียนไปแปลงสมาชิก)
4. ความเป็นมา :
ปี พ.ศ. 2549 โดยมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) และเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ภาคอีสาน ได้เข้าไปทำงาน ร่วมจัดกระบวนการกลุ่มและสนับสนุนการปรับระบบการผลิตในรูปแบบของงานวิจัยเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสม ซึ่งมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 12 ครอบครัว ตั้งชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มข้าวไร่บ้านทิพโสต” มีกิจกรรมการพัฒนาและอนุรักษ์ข้าวที่เหมาะสมกับระบบนิเวศไร่ มีการนำข้าวไร่มาทดลองปลูก เช่น พันธุ์ข้าวหอมสกล ข้าวแผ่แดง ข้าวพญาลืมแกง ข้าวหางปลาไหล ข้าวเล้าแตกไร่ ข้าวก่ำใจดำ ข้าวควายหลง ข้าวสายันต์และข้าวอีแหล่โสตาย แต่ในการปลูกข้าวยังมีปัญหา เรื่องเทคนิคการคัดเมล็ดพันธุ์ การดำเนินงานของกลุ่มข้าวไร่บ้านทิพโสตยังมีการประสานความร่วมมือกับศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ พัฒนาเรื่องเทคนิคการคัดเมล็ดพันธุ์และวิธีการปลูกข้าวไร่แบบประหยัดพลังงาน และเวลา แต่ยังไม่เป็นรูปธรรมและขบวนการเท่าที่ควร (ส่วนใหญ่จะเป็นการหนุนช่วยในรายบุคคล ไม่ผ่านกระบวนการกลุ่ม)
ต่อมาปี พ.ศ. 2552 เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน ได้เข้ามาทำงานต่อจากมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ให้มีความต่อเนื่องกับการทำงานของกลุ่มพี่น้องเกษตรกร ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ภายใต้โครงการสนับสนุนภาคประชาสังคม เพื่อสนับสนุนการทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน โดยองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคม กิจกรรมส่วนใหญ่จะหนุนเสริมองค์ความรู้และสนับสนุนความเข้มแข็งของกลุ่ม เช่น การประชุมกลุ่ม การศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพื้นที่อื่น การอบรมเทคนิคการทำเกษตรอินทรีย์ การปรับปรุงบำรุงดินโดยปุ๋ยพืชสด/หมูหลุม การทดลองปลูกมันสำปะหลังทางเลือก การอบรมพลังงานทางเลือกและบ่อก๊าชชีวภาพ การทดลองและพัฒนาพันธุ์ข้าวทั้งข้าวนาปีและข้าวไร่ การจดทะเบียนพันธุกรรมชุมชน เป็นต้น แต่การทำงานที่ผ่านมายังมีปัญหาในเรื่องของกระบวนการทำงานหนุนเสริมไม่ลึกพอทั้งในเรื่องของกระบวนการและการทำกิจกรรมในพื้นที่ไม่มีความต่อเนื่อง รวมถึงยังขาดการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับชุมชนบนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชนทั้งระบบ ทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุเป้าหมายเท่าที่ควร
ปี พ.ศ. 2553-2554 เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน มีการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์งานพันธุกรรมพื้นบ้าน มีแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมองค์กรชาวบ้านให้มีความเข้มแข็งในรูปแบบของการรวมกลุ่มศึกษา การทดลองวิจัยประเด็นต่างๆ โดยการนำหลักการงานวิจัยแบบมีส่วนร่วมมาพัฒนาเป็นแนวทางการทำงานของยุทธศาสตร์งานพันธุกรรมพื้นบ้านภาคอีสาน ซึ่งการดำเนินงานของกลุ่มข้าวไร่บ้านทิพโสตมีการพัฒนาพันธุ์ข้าวไร่และค้นหาพันธุ์ข้าวไร่จากแหล่งอื่นมาทดลองปลูกในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน
5. วัตถุประสงค์การจัดตั้งกลุ่ม :
1. เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
2. การสร้างพื้นที่อาหารในเขตพื้นที่อ้อย มันสำปะหลัง
6. โครงสร้างกลุ่มและสมาชิก :
1. นายพิชิตพล แสนโคตร | ประธานกลุ่มข้าวไร่บ้านทิพโสต | |
2. นายทองดี สาโสก | สมาชิกกลุ่ม | |
3. นายบุญจันทร์ ปุริมาตร | สมาชิกกลุ่ม | |
4. นายพยุง เหลาแหล่ม | สมาชิกกลุ่ม | |
5. นายคำไพ ถาลี | สมาชิกกลุ่ม | |
6. นายบุดดี อัพภัยชา | สมาชิกกลุ่ม | |
7. นายอ้าว ศรีพรมใต้ | สมาชิกกลุ่ม | |
8. นายสำรวย สอนหามาตร | สมาชิกกลุ่ม | |
9. นายทองลา สาโสก | สมาชิกกลุ่ม |
7. กิจกรรมของกลุ่ม :
1. การอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่
2. จัดทำทะเบียนพันธุกรรมของชุมชนในเรื่องพันธุ์ข้าวพื้นบ้านและพันธุ์ผักท้องถิ่น
3. ศึกษาภูมิปัญญาการทำนายสภาพดินฟ้าอากาศ
4. ทำงานวิจัยท้องถิ่นพืชอาหารในไร่อ้อย ไร่มัน
5. กองทุนสนับสนุนพืชอาหาร
8. ผู้รับผิดชอบ/ผู้ประสานงาน :
นายพิชิตพล แสนโคตร เลขที่ 178 ม.4 บ.ทิพโสต ต.ดอนกลาง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม โทรศัพท์ 080-4101743
9. ผู้ให้ความรู้/ผู้สื่อสารเรื่องราวภายในกลุ่ม :
นายพิชิตพล แสนโคตร เลขที่ 178 ม.4 บ.ทิพโสต ต.ดอนกลาง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม โทรศัพท์ 080-4101743
10. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน :
1. ขยายสมาชิกไม่ได้
2. ไม่ได้รับการหนุนเสริมจากองค์กรท้องถิ่น
11. แนวทางการทำงานและทิศทางการทำงาน/ความต้องการการสนับสนุนจากภายนอก :
1. การพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
2. การสร้างพื้นที่อาหารในเขตพื้นที่อ้อย มันสำปะหลัง
12. ความโดดเด่น :
เนื่องจากสภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ดอน นาโคก กลุ่มข้าวไร่ บ้านทิพโสต จึงได้ค้นหา พัฒนา และอนุรักษ์พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับระบบนิเวศน์ไร่ รวมถึงทำงานอนุรักษ์พันธุกรรมพื้นบ้านพืชอาหารในท้องถิ่น