ข้อตกลง/กติกากลุ่ม
1.สมาชิกกลุ่มต้องเป็นคนในพื้นที่ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม หากมีผู้ที่อยู่นอกเขตตำบลบ้านกู่ มีความสนใจเข้าเป็นสมาชิก ต้องผ่านพิจารณาจากคณะกรรมการของกลุ่มเป็นรายบุคคลไป
2.เป็นเกษตรกรที่ลงมือปฏิบัติจริงและมีพื้นที่ทำการเกษตร
3.ผู้เป็นสมาชิกกลุ่มต้องเป็นผู้ที่มีความสนใจเข้าร่วมกลุ่มจริง โดยพิจารณาจากความต่อเนื่องของการเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่ม
4.ผู้เป็นสมาชิกต้องเข้าร่วมประชุมกับกลุ่มอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หากมีธุระหรือเหตุจำเป็นอื่นใด ให้มีผู้เข้าร่วมประชุมแทน หรือ ให้แจ้งเหตุจำเป็นแก่กลุ่มได้รับทราบ
สิทธิประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ
1.มีสิทธิยืมพันธุ์ข้าวจากกลุ่ม แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเป็นข้าวในอัตราพันธุ์ข้าว 5 กก. คิดดอกเบี้ย 1 กก. (เพื่อการเติบโตของกลุ่ม) และต้องคืนพันธุ์ข้าวที่ยืมไปเท่านั้น หากประสบปัญหาที่มีความจำเป็นจริงๆ ให้คณะกรรมการกลุ่มพิจารณาเป็นรายกรณีไป
2.กลุ่มจะมีการจัดการเรื่องการหาตลาดจำหน่ายผลผลิต
3.มีการจัดตั้งกองทุน เพื่อจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก
4.มีการส่งเสริมความรู้เรื่องการเกษตรจากกลุ่ม
7. กิจกรรมของกลุ่ม :
กิจกรรมหลัก 1. การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
2. การแปรรูปข้าว
กิจกรรมรอง 1. การผลิตผัก
2. การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และไก่ไข่
3. การเลี้ยงกบ
4. การเลี้ยงเป็ด
5. การเลี้ยงปลา
6. การเลี้ยงหมู
7. การเลี้ยงวัว
8. การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทอผ้า
8. ผู้รับผิดชอบ/ผู้ประสานงาน :
นายไพรัชช์ แดนกะไสย
บ้านเลขที่ : 71 ม.3 ต.บ้านกู่ อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม 44210
หมายเลขโทรศัพท์ : 093-3417394 อีเมล์ : mintuna14@gmail.com
9.ผู้ให้ความรู้ /ผู้สื่อสารเรื่องราวภายในกลุ่ม :
1. นายบุญมา สุวรรณศรี การปรับปรุงดิน
2. นายสนธิ์ แดนกะไสย พันธุกรรมข้าว การทำปุ๋ยชีวภาพและการทำน้ำหมักชีวภาพ
3. นายเสงี่ยม ชาวเกวียน การเพิ่มผลผลิตข้าว การทำปุ๋ยชีวภาพ การทำน้ำหมักชีวภาพ
4. นางอุดม แพงพงษ์มา การมัดหมี่และทอผ้าไหม
10. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน :
1. ขาดแหล่งน้ำน้ำที่สามารถทำเกษตรได้ตลอดทั้งปี จะทำนาได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
2. พื้นที่ทำการเกษตรอยู่ห่างจากชุมชม อยู่ห่างจากแหล่งไฟฟ้าทำให้ไม่สะดวกต่อการจัดการ
3. เป็นกลุ่มใหม่จึงทำให้การบริหารจัดการกลุ่มยังไม่ลงตัวมากนัก
11. แนวทางการทำงานและทิศทางการทำงาน/ความต้องการการสนับสนุนจากภายนอก
1. งบประมาณในการจัดอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกกลุ่ม
2. การหนุนเสริมจากหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง
12. ความโดดเด่น :
กลุ่มผู้ผลิตข้าวพื้นบ้านอาหารปลอดภัย ตำบลบ้านกู่ เป็นกลุ่มที่มีฐานจากการวิจัยท้องถิ่นในเรื่องความมั่นคงทางอาหารและยกระดับมาสู่การผลิตข้าวพื้นบ้าน โดยการอนุรักษ์ คัดเลือกพันธุ์ข้าว พร้อมกับมีเงื่อนไขและกระบวนการหนุนเสริมให้สมาชิกปรับเปลี่ยนมาเป็นเกษตรอินทรีย์ภายในระยะเวลา 3 ปี