โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านส้มโฮง

1. ชื่อกลุ่ม : กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านส้มโฮง

2. ที่ตั้งและภูมินิเวศ :
          2.1 ที่ตั้ง : นางทรัพย์ ชิณเฮือง เลขที่ 22 หมู่ 11 บ้านส้มโฮง ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
          2.2 ลักษณะภูมินิเวศ : บ้านส้มโฮง มีลักษณะนิเวศนาทาม มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ ไม่ได้มีสภาพเป็นป่าทามเป็นพื้นที่ทำนา มีบางจุดเล็กน้อยที่มีสภาพเป็นป่าทาม

3. ขนาดพื้นที่นาแปลงรวม : 3 งาน

4. ความเป็นมา :
          บ้านส้มโฮงเป็นหมู่บ้านที่ตั้งใกล้กับแม่น้ำชี และห้วยสามสัตย์ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากชาวบ้านในพื้นที่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ ส่งผลกระทบกับการประกอบอาชีพหลักคือการทำนา ในแต่ละปีชาวบ้านจะทำนา 2 ครั้ง คือนาปรัง และนาปี อาชีพรองจะรับจ้างทั่วไป รายได้หลักๆจึงมาจาก 2 อาชีพนี้เท่านั้น
          ปี พ.ศ. 2553 เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา โดยการนำนายฉัฐ ภักดี ได้ขยายพื้นที่การทำงานจากบ้านขี้เหล็ก ต.เขวาใหญ่ อ.กันทรวิชัย ไปบ้านส้มโฮง เพื่อขยายรูปธรรมเกษตรลุ่มน้ำชี ชาวบ้านให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรม ในการค้นหารูปแบบเกษตรที่เหมาะกับบ้านส้มโฮง ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำการเกษตร เป็นแนวร่วมในการขับเคลื่อนและผลักดันนโยบายเกษตรพันธสัญญาที่ส่งผลกระทบกับเกษตรกร และเข้าร่วมกิจกรรมกับเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน
          ปี พ.ศ. 2554 ได้รับการหนุนเสริมจากเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ภาคอีสาน ในการจัดตั้งกลุ่มเพื่อค้นหาอาชีพเสริมที่จะสามารถสร้างรายได้ ตั้งชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านส้มโฮง” โดยมีสมาชิกเริ่มต้น 20 ครอบครัว และในปีเดียวกันกลุ่มได้ร่วมและจัดตั้งเครือข่ายเกษตรกรลุ่มน้ำชี จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งประกอบไปด้วย บ้านส้มโฮง บ้านขี้เหล็ก บ้านบุ่งเบา ต.เขวาใหญ่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม และบ้านกอก ต.บ้านผือ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
          ปี พ.ศ. 2555 กลุ่มเข้าร่วมอบรมเทคนิคการพัฒนาพันธุ์ข้าวกับโครงการฮักแพง เบิ่งแงง คนมหาสารคาม จึงเกิดความสนใจเรื่องข้าวพื้นบ้าน ตัดสินใจค้นหาและรวบรวมพันธุ์ข้าวมาปลูกเพื่อศึกษาเหมาะกับพื้นที่บ้านส้มโฮง เลือกแปลงรวมคือแปลงนางทรัพย์ ชินเฮือง จนถึงปัจจุบัน

5. วัตถุประสงค์การจัดตั้งกลุ่ม :
          1. เพื่อพัฒนาอาชีพการทำเกษตร
          2. เพื่อค้นหาทางเลือกอาชีพที่สร้างความยั่งยืน และสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว
          3. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การประกอบอาชีพที่ยั่งยืน

6. กรรมการและสมาชิกกลุ่ม : มีสมาชิกและกรรมการ ทั้งหมด 27 คน ประกอบด้วย
1.นายทองสุข จันทะบัตร                    ประธานกลุ่ม
            2. นายธวัชชัย ชิณเฮือง                      รองประธาน
            3. นางณีรมล ทาบทา                       เลขานุการ
            4. นางปทุม ขันตี                              เลขานุการ
            5. นางทรัพย์ ชินเฮือง                        เหรัญญิก
            6. นางทองทิพย์ พลูแก้ว                     เหรัญญิก
            7. นางชม คลังแสง 
            8. นางเพชร นาทาริ
            9. นางสมหมาย จำปีหอม     
            10.นางคำผาย ศรีมงคล        
            11. นางพรรณี คำปลิว         
            12. นายพล คูกั้นน้ำ
            13. นางปิยะพร ทานนท์       
            14. นางราตรี ทาพล
            15.นายประเสริฐ คำดี          
            16. นายคำใบ จำปีหอม       
            17. นายสีดา สุขดีกรี           
            18. นางเต่า ทับละ  
            19. นางสายทอง เนืองมัจฉา  
            20. นายสุภาพ ชิณศรี          
            21 นายบุญมี ชิณเฮือง         
            22 นายคมกฤต ชิณฮาด       
            23. นางรอด สุมนเมที         
            24 นางฉวี สมบัติ   
            25. นายทองอินทร์ ตาแก้ว    
            26. นางเพียร ศิริเม 
            27 นางล้ำ จันทบัตร

7. กิจกรรมของกลุ่ม
          1. ประชุมกลุ่ม
          2. ศึกษาเรียนรู้การอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ข้าว
          3. ร่วมกิจกรรมกับเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน

8. ผู้รับผิดชอบ/ผู้ประสานงาน :
          นางทรัพย์ ชิณเฮือง บ้านเลขที่ 22 หมู่ 11 บ้านส้มโฮง ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์ 087-6394236

9. ผู้ให้ความรู้/ผู้สื่อสารเรื่องราวภายในกลุ่ม :
          นางทรัพย์ ชิณเฮือง เลขที่ 22 หมู่ 11 บ้านส้มโฮง ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์ 087-6394236

10. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน :
          1. ไม่มีหน่วยงานมาหนุนเสริม
          2. กลุ่มไม่มีโครงสร้างตายตัว

11. แนวทางการทำงานและทิศทางการทำงาน/ความต้องการการสนับสนุนจากภายนอก :
          1. กลุ่มต้องการแปรรูปข้าวออกขาย
          2. หน่วยงานเข้ามาสนับสนุนให้คำแนะนำ ความรู้ในการแปรรูปข้าว

12. ความโดดเด่น :
          กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านส้มโฮง เป็นกลุ่มที่ศึกษาเรียนรู้การอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีปัญหาน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก

บทความแนะนำ