โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

            “จากรายงานสถานะความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการฉบับล่าสุดขององค์การสหประชาชาติ (United Nations – UN) พบว่า จำนวนผู้หิวโหยของประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็น 828 ล้านคนในปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโลกกำลังก้าวถอยหลังในความพยายามที่จะขจัดความหิวโหยและภาวะทุพโภชนาการ”

            สถานการณ์ความมั่นคงอาหารและโภชนาการโลก (The State of Food Security and Nutrition in the World: SOFI) ประจำปี 2565 ได้มีการนำเสนอข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารและโภชนา รวมถึงการประมาณการต้นทุนและความสามารถในการใช้จ่ายสำหรับการบริโภคเพื่อสุขภาพที่ได้พิจารณาถึงการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐบาลในการปรับเปลี่ยนแนวทางการสนับสนุนด้านการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการบริโภคเพื่อสุขภาพโดยคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดในหลายส่วนของโลก โดยองค์กรที่ร่วมแถลงรายงานดังกล่าว ประกอบด้วย องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO), กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (IFAD), องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF), โครงการอาหารโลก (WFP), และองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยมีสถิติข้อมูลจากรายงาน

สถิติข้อมูลจากรายงาน: โลกกำลังก้าวถอยหลังในความพยายามที่จะขจัดความหิวโหยและภาวะทุพโภชนาการ

  • ประชากรโลกที่ได้รับผลกระทบจากความหิวโหยเพิ่มขึ้นเป็น 828 ล้านคน ตั้งแต่ปี 2563 เพิ่มขึ้น 46 ล้านคน และ 150 ล้านคน ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2562
  • จากสัดส่วนประชากรโลกที่ได้ผลกระทบจากความหิวโหยนั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนักตั้งแต่ปี 2558 โดยในปี 2561 มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2564 กล่าวคือ เพิ่มขึ้น 8% ในช่วงปี 2561-2562, 9.3% ในช่วงปี 2562-2563, และ 8% ในช่วงปี 2563-2564
  • ประชากรโลกราว 3 พันล้านคน (29.3%) มีความไม่มั่นคงด้านอาหารในระดับปานกลางหรือรุนแรงในปี 2564 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 350 ล้านคนเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 และประชากรโลกเกือบ 924 ล้านคน (11.7% ของประชากรโลก) เผชิญกับความไม่มั่นคงด้านอาหารในระดับรุนแรง เพิ่มขึ้น 207 ล้านคนเพียงในช่วง 2 ปีเท่านั้น
  • การเกิดช่องว่างทางเพศสภาพในความไม่มั่นคงด้านอาหารยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2564 กล่าวคือ 9% ของผู้หญิงมีความไม่มั่นคงด้านอาหารในระดับปานกลางหรือรุนแรง ในขณะที่ของผู้ชายอยู่ที่ร้อยละ 27.6 ซึ่งสถิติช่องว่างทางเพศสภาพที่เกิดขึ้นนี้มีมากกว่า 4% โดยเทียบกับปี 2563 ที่มีสถิติช่องว่างทางเพศภาพที่ 3%
  • ในปี 2563 ประชากรโลกเกือบ 3.1 พันล้านคนไม่สามารถซื้อหรือเข้าถึงการบริโภคเพื่อสุขภาพ โดยมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น 112 ล้านคนในปี 2562 จากผลกระทบทางเศรษฐกิจของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19
  • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบประมาณ 45 ล้านคนกำลังทรมานจากภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งทำให้เด็กเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ถึง 12 เท่า นอกจากนี้ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบจำนวน 149 ล้านคนมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่หยุดชะงักเนื่องจากขาดสารอาหารที่จำเป็น ในขณะที่เด็กกว่า 39 ล้านคนมีภาวะน้ำหนักเกิน
  • จากสถิติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบว่า ในปี 2563 เด็กทารกที่อายุต่ำว่า 6 เดือนได้รับนมแม่อย่างเดียวที่ 44% ซึ่งยังไม่ถึงเป้าหมาย 50% ที่ต้องให้บรรลุภายในปี 2573 อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ สองในสามของเด็กยังคงไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กอย่างเต็มศักยภาพ
  • จากสถิติข้อมูลที่เกิดขึ้นดังข้างต้น มีการคาดการณ์ภาพอนาคตว่า ในปี 2573 ประชากรโลกเกือบ 670 ล้านคน (8% ของจำนวนประชากรโลกทั้งหมด) จะยังคงเผชิญกับความหิวโหยแม้ภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวก็ตาม ซึ่งตัวเลขการคาดการณ์นี้ใกล้เคียงในปี 2558 ที่มีการตั้งเป้ายุติความหิวโหย ความไม่มั่นคงทางอาหารและภาวะทุพโภชนาการภายปี 2573 ผ่านการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน

การสนับสนุนผ่านนโยบายทางการเกษต

            จากข้อมูลรายงานได้ตั้งข้อสังเกตว่า การสนับสนุนภาคอาหารและการเกษตรทั่วโลกมีค่าเฉลี่ยเกือบ 630 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ระหว่างปี 2556-2561 โดยสัดส่วนการสนับสนุนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายเดี่ยวผ่านนโยบายการค้าและการตลาด รวมถึงการอุดหนุนทางการเงิน อย่างไรก็ตามการสนับสนุนดังกล่าวไม่เพียงบิดเบือนด้านตลาดเท่านั้น แต่เกษตรกรจำนวนมากยังไม่เข้าถึง, ลักษณะการสนับสนุนมักไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, และไม่ได้เป็นการส่งเสริมการผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดี เนื่องด้วยการสนับสนุนส่วนใหญ่นั้นมักเน้นการผลิตอาหารหลักที่คนส่วนใหญ่บริโภค ผลิตภัณฑ์นม และอาหารจากสัตว์ ซึ่งมักพบในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง และประเทศที่มีรายได้สูง โดยการผลิตข้าว น้ำตาล และเนื้อสัตว์ ถือเป็นกลุ่มการผลิตที่ได้รับการสนับสนุนมากที่สุดทั่วโลก ในขณะที่ผักและผลไม้ได้รับการสนับสนุนค่อนข้างน้อยโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำ

            และด้วยภาวะคุกคามจากเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกที่ส่งกระทบต่อรายได้และรายจ่ายสาธารณะนั้น ทิศทางการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับการปรับเปลี่ยนการหนุนเสริมด้านอาหารและการเกษตรเพื่อนำมากำหนดเป้าหมายให้เกิดการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและดีต่อสุขภาพ ซึ่งหากรัฐบาลมีการปรับลักษณะการสนับสนุนผ่านทรัพยากรของรัฐเพื่อสร้างแรงจูงใจในการผลิต การตลาด และการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพนั้น จะมีส่วนช่วยทำให้อาหารเพื่อสุขภาพมีต้นทุนที่ลดลง ราคาไม่แพง คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้

อ้างอิง: https://www.ifad.org/en/web/latest/-/un-report-global-hunger-numbers-rose-to-as-many-as-828-million-in-2021-the-latest-state-of-food-security-and-nutrition-report-shows-the-world-is-moving-backwards-in-efforts-to-eliminate-hunger-and-malnutrition?fromhp&fbclid=IwAR3USpASalSXUBeqS1gedenq-731Vuu0YcP8p3DB36OdDW6Pxt8Z5Ewxn9A

บทความแนะนำ