โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

             ฤดูฝนในประเทศไทยต้องยอมรับว่าปริมาณน้ำฝนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ผู้คนที่อยู่ในเมืองต้องเผชิญน้ำท่วมขังจากฝนที่กระหน่ำตกมาอย่างหนักเพียงไม่นาน และปัญหาขยะที่ถูกซ่อนไว้ก็กลายเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ระบายน้ำออกได้ยาก การจัดการขยะที่มีการหารือและขอความร่วมมือกันมาอย่างยาวนาน เข้ามาสู่ความสนใจของผู้คนมากขึ้น จึงขอเสนอประเด็นงานศึกษาของไต้หวันที่มีการเก็บข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2013 และแหล่งต่างๆ ซึ่งเชื่อมโยงตั้งแต่ประเด็น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการที่ดิน การกำจัดขยะ และการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

             กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไต้หวันได้มีการเก็บข้อมูล the Taiwan Climate Change Projection Information and Adaptation Knowledge Platform (TCCIP) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในทุก 10 ปี จากเหตุการณ์ปี 2009 ที่ไต้หวันต้องพบกับภัยพิบัติ ไต้ฝุ่น Morakot ฝนที่ตกอย่างหนักทำให้เกิดน้ำท่วมและดินถล่ม หลังจากนั้น ในปี 2013 จึงได้หารือและเกิดแผนการรับมืออย่างจริงจัง เกิดเป็นแผนยุทธศาสตร์การปรับตัวของไต้หวัน (NATIONAL ADAPTATION STRATEGY) เกิดการจัดระเบียบพื้นที่  แต่ก็มีข้อมูลที่ยังค้านกันอยู่

             Taiwan Plus ได้เผยแพร่ข้อมูลโรงงานที่ผิดกฎหมาย มีมากกว่า 400 แห่ง ซึ่งหลุดรอดการตรวจสอบ ทั้งที่รัฐบาลของไต้หวันติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดินของคนในประเทศผ่านเทคโนโลยีดาวเทียม แต่ไม่พบการก่อสร้างของโรงงานที่ผิดกฎหมาย เขตอุตสาหกรรมผลิตขยะออกมาเป็นจำนวนมาก ทำลายระบบนิเวศและทิ้งของเสียตกค้างอยู่ในแม่น้ำและภูเขา เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มบริษัทและกลุ่มนักอนุรักษ์

             สิ่งที่น่ากังวลคือบริเวณแม่น้ำที่บรรจบกับทะเล เป็นเขตอุตสาหกรรม เป็นแหล่งที่ตั้งของโรงงานทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย เป็นศูนย์กลางของการทิ้งขยะ เต็มไปด้วยกากตะกอนจากโรงงานในพื้นที่โดยรอบ บทความที่ตีพิมพ์ใน Natural Hazards ปี 2016 ศึกษาการจำลองลุ่มน้ำของไต้หวันแสดงให้เห็นว่าปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นในอีก 10 ปี ก้นแม่น้ำจะมีตะกอนสะสมสูงขึ้น 1.24 เมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมเมื่อฝนตกหนัก  ตามรายงานของ TCCIP แบบจำลองส่วนใหญ่แสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำฝน ซึ่งจะส่งผลให้มีตะกอนจำนวนมากไหลลงสู่แม่น้ำสายสำคัญ ประกอบกับภัยพิบัติดินถล่มที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่สูง ปริมาณน้ำฝนที่ตกเพิ่มมากขึ้นกับการสะสมของตะกอนทำให้ความสามารถในการรับน้ำมีน้อยลง

             พื้นที่เกษตรกรรมได้รับการปนเปื้อนจากของเสียที่รั่วไหลออกมาจากเขตอุตสาหกรรม บทความในนิตยสาร Commonwealth ปี 2020 (“The ‘Ghost’ Shadowing Taiwan’s Industrial Polluters,” กรกฎาคม 2020) ระบุว่าพื้นที่นามีการปนเปื้อนของอะลูมิเนียม บ่อเลี้ยงปลาหลายแห่งที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ กลายเป็นพื้นที่กำจัดขยะ เมื่อขยะเต็มบ่อแล้วเทคอนกรีตทับ เพื่อสร้างอาคารสำเร็จรูปสำหรับให้เช่าเป็นโรงงาน หรือเป็นพื้นที่ตั้งแผงโซลาร์เซลล์

             จากข้อมูลโรงงานและสถานที่กำจัดขยะในไต้หวันถือเป็นระเบิดเวลา หากฝนตกลงมาอย่างหนัก โคลนจะไม่เพียงแต่เป็นอันตราย แต่ยังเป็นพิษ และน้ำท่วมจะกระจายไปทั่วพื้นที่การเกษตรและเขตที่อยู่อาศัย ภัยพิบัติในอนาคตอันใกล้ คือการเผชิญความแห้งแล้งสลับกับฝนที่ตกหนักขึ้น (ซึ่งทำให้เกิดตะกอนมากขึ้นด้วย) สิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ Michael Turton  เสนอคือการปฏิรูประบบที่ดินของไต้หวันเพื่อรองรับโรงงานต่างๆ โดยที่โรงงานต้องไม่เบียดเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรม

ที่มา https://www.taipeitimes.com/News/feat/archives/2022/09/26/2003785929

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mdpi.com/2073-4441/14/3/358/htm

บทความแนะนำ