ข้อตกลง/กติกากลุ่ม (ตลาด)
1. ผู้ที่จะขายผลผลิตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิก โดยให้คณะกรรมการกลุ่มพิจารณา
2. คณะกรรมการจะลงตรวจแปลงเพื่อพิจารณาสภาพแวดล้อมแปลงที่เอื้อต่อเกษตรปลอดสาร หากผ่านก็สามารถนำสินค้ามาทดลองขายในตลาดศุกร์สุขภาพ กรณีที่ไม่ผ่าน หากต้องการเป็นสมาชิกจะต้องพัฒนาแปลงภายในเวลา 3 เดือน เช่น ปลูกกล้วยเป็นแนวกันชนเกษตรเคมีแปลงใกล้เคียง กรรมการจะลงไปตรวจรอบที่สอง
3. หลังจากผ่านการตรวจแปลง สมาชิกรายใหม่จะต้องนำผลผลิตจากแปลงมารับการสุ่มตรวจสารเคมีที่รพร.กุฉินารายณ์
4. หากตรวจผ่านก็สามารถวางขายได้ในตลาด หากไม่ผ่านจะมีการตักเตือนหรือให้คณะกรรมการใช้ดุลยพินิจพิจารณาให้เจ้าของแปลงกลับไปพัฒนาแปลง แล้วจึงให้คณะกรรมการไปตรวจสอบรอบใหม่
5. การขาย สมาชิกจะต้องสมทบรายได้เข้ากลุ่มสัปดาห์ละ 20 บาท
6. สมาชิกจะต้องเข้าร่วมประชุมหลังการขายสินค้าที่ตลาดศุกร์สุขภาพทุกครั้ง
7. กิจกรรมของกลุ่ม :
1. ขายสินค้าผลผลิตทางการเกษตรและแสดงนิทรรศการเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เช่น พันธุ์ข้าว การเลี้ยงหมูหลุม หลุมพอเพียง (ปลูกหลากหลายพันธุ์) เป็นต้น ที่ตลาดศุกร์สุขภาพที่รพร.กุฉินารายณ์ และงานแสดงสินค้าในท้องถิ่น และจังหวัดต่างๆ
2. เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องหลุมพอเพียง
3. ช่วยเหลือคนพิการผ่านกิจกรรมหลุมบุญ โดยทุกวันศุกร์ในวันที่ขายสินค้าในตลาดศุกร์สุข สมาชิกจะนำผลผลิตไปสมทบให้แผนกกายภาพบำบัดเพื่อนำไปแจกจ่ายให้ผู้พิการต่อไป
4. อบรมพัฒนาอาชีพให้สมาชิก เช่น การแปรรูปกล้วย การแปรรูปกลอย การปลูกข้าว
5. ประชุมร่วมกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์เรื่องการพัฒนาศูนย์ข้าวชุมชนเป็นระยะๆ
6. ดำนาวันแม่ เกี่ยวข้าววันพ่อในแปลงรวม (แผนงานในระยะข้างหน้า)
8. ผู้รับผิดชอบ/ผู้ประสานงาน :
1. นายเชาวลิต วิชัย บ้านเลขที่ 171 หมู่ 5 บ้านบุ่งคล้า ต.บัวขาว อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ 46110หมายเลขโทรศัพท์ 081-6706212, 085-9733671 อีเมล์ chaowalit-love@hotmail.com
2. นายปัญญา สิทธิอมร บ้านเลขที่ 8 หมู่ 1 บ้านจุมจัง ต.จุมจัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ 46110หมายเลขโทรศัพท์ 087-9464832
9. ผู้ให้ความรู้/ผู้สื่อสารเรื่องราวภายในกลุ่ม :
1. นายเชาวลิต วิชัย การเพิ่มผลผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้เทคโนโลยีอะตอมมิคนา โน
2. น.ส.ธนัชพร บรรเทา การแปรรูปผลผลิตข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่า (น้ำข้าวกล้อง คุกกี้ ข้าวกล้อง ฯลฯ) การทำดอกไม้ประดิษฐ์จากเศษวัสดุ ธรรมชาติ
3. นายผจญ ธุรพันธ์ การเพาะกล้าและขยายพันธุ์ไม้ การทำหลุมพอเพียง
4. นางรวมใจ แสงชมพู การแปรรูปกลอยอบแห้ง
5. นางสำเนียง แจ้งสุข การแปรรูปกล้วย (กล้วยฉาบ กล้วยกวน กล้วยเจ็ดแดด)
6. นางรำเพย ลีนาลาด การแปรรูปข้าวเกรียบธัญพืช การปลูกผักหวานป่า
7. นางสำลี ไชยหนองแข้ การทำผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ
8. นางสีสุพรรณ อุทรักษ์ การปลูกหน่อไม้ฝรั่ง
9. นายป้าน เผือกแก้ว การทำน้ำยาสมุนไพรด้วยวิธีสกัดเย็น
10. นางศิรินทร ศรีฮุย การเลี้ยงหมูหลุม
11. ศูนย์พัฒนาคุณธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ การอบรมพัฒนาคุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
10. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน :
1. สภาพแวดล้อมในแปลงนาสมาชิกอยู่ติดห้วยหลักทอด ทำให้ควบคุมระดับน้ำไม่ได้
2. พื้นที่ใกล้เคียงแปลงสมาชิกเป็นพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจซึ่งใช้สารเคมี
3. สมาชิกอยู่คนละตำบล มีระยะทางค่อนข้างไกลจากแปลงรวม
4. สมาชิกส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อมั่นในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยตนเอง ยังต้องการซื้อจากร้านค้าทั่วไปทั้งที่เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ซื้อมาไม่ค่อยมีคุณภาพเท่าที่ควร
11. แนวทางการทำงานและทิศทางการทำงาน/ความต้องการการสนับสนุนจากภายนอก
1. ยุ้งฉางของกลุ่ม และสถานที่ดำเนินงานกลุ่ม
2. ความรู้เรื่องการคัดพันธุ์ เก็บรักษาพันธุ์ และพัฒนาพันธุ์ข้าว เพื่อให้สมาชิกมีความสามารถในการผลิตพันธุ์ข้าวอย่างมีคุณภาพ
3. ช่องทางการตลาดข้าว
12. ความโดดเด่น :
กลุ่มฮักแพงแบ่งปัน เป็นกลุ่มที่ถนัดในการแปรรูปข้าวเป็นอาหารที่หลากหลาย เช่น คุกกี้ข้าวกล้อง ข้าวกล้องฟรุตสลัด เค้กข้าวกล้อง ข้าวเกรียบ ข้าวต้มมัด ข้าวคลุกฟักทอง (ข้าวโจของชาวภูไท) และมีประสบการณ์เรื่องการทำการตลาด นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญเรื่องพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าว โดยจะมีการทำพิธีสู่ขวัญข้าวและทำปราสาทข้าวเพื่อบูชาแม่โพสพทุกปี