โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

          “ภาคการเกษตรถือเป็นแหล่งทรัพยากรทางอาหารที่สำคัญในการตอบสนองของประชากรโลก ในขณะที่พื้นที่การผลิตหนึ่งในสามของโลกอยู่ในภาวะดินเสื่อมโทรมเนื่องจากมีการเข้าใช้ประโยชน์อย่างเข้มข้นจากการผลิตในระบบเกษตรกรรมแผนปัจจุบัน” แม้ว่าระบบเกษตรกรรมแผนปัจจุบันทำให้เกิดผลดีบางประการโดยเฉพาะการเพิ่มปริมาณผลผลิต แต่เป็นระบบที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติมากเช่นกัน หากระบบการผลิตดังกล่าวยังคงมีการนำใช้ต่อไปในอนาคตอาจทำให้เผชิญกับพื้นที่ผลิตอาหารมีไม่เพียงพอ ระบบนิเวศเสื่อมโทรมด้วยการระบบการผลิตที่ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และความเสี่ยงของผลผลิตจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เริ่มส่งผลกระทบต่อความมั่นคงอาหาร

          จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ในหลายประเทศได้มีการพัฒนารูปแบบการผลิตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการนำใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมภายใต้ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งเป็นระบบที่ไม่ยึดติดที่รูปแบบการผลิตแต่เป็นระบการผลิตที่ชุมชนควรมีการพัฒนารูปแบบการเกษตรบนฐานของ “ภูมินิเวศสังคมวัฒนธรรม” รวมทั้งบนฐานทรัพยากรในแต่ละด้านที่เกษตรกรและภูมินิเวศสังคมวัฒนธรรมนั้นๆ มีอยู่ ซึ่งรูปแบบการเกษตรในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนมีอยู่หลากหลาย เช่น เกษตรกรรมธรรมชาติ วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน เกษตรชีวภาพ เกษตรนิเวศ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งทุกรูปแบบต่างให้คุณค่า และมูลค่าที่เหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน กล่าวคือ อย่างน้อยก่อให้เกิดการพึ่งตนเอง เป็นธรรม มีการเจริญเติบโตทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

          ผลที่เกิดขึ้นจากการผลิตภายใต้ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

  • ครอบครัวเกษตรกรมีอาหารที่ดีต่อสุขภาพบริโภคอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง
  • มีสุขภาพกาย จิตใจดี
  • มีอาชีพในชุมชน และมีรายได้มั่นคง
  • ระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ของไร่นา และชุมชนดีขึ้น
  • พันธุกรรมพืช สัตว์พื้นบ้านได้รับการอนุรักษ์ และพัฒนา
  • องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการฟื้นฟู
  • สตรีเกษตรกรมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เท่าทัน และมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ และดำเนินการพัฒนาอย่างเท่าเทียม
  • ครอบครัวอบอุ่น ลูกหลานได้มีโอกาสได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น
  • มีกลุ่มองค์กร เครือข่ายชุมชน ที่เข้มแข็ง

เปรียบเทียบหลักการเกษตรกรรมแผนปัจจุบันและเกษตรกรรมยั่งยืน

เกษตรกรรมแผนปัจจุบันเกษตรกรรมยั่งยืน
อาหาร, ลำดับความสำคัญในการผลิต, และความมั่นคงทางอาหารผลิตอาหารเพื่อขาย ส่งออก และพึ่งพาตลาดต่าง, ความหิวโหยเป็นผลจากการผลิตที่ตกต่ำ จึงต้องมีการนำเข้าผลผลิตเพื่อทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหารอาหารเป็นสิทธิมนุษยชนที่ผู้คนสามารถเข้าถึงอย่างเพียงพอ, ผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายในตลาดชุมชน, สร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ด้วยการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมโดยคำนึงถึงระบบนิเวศและวิธีการที่ยั่งยืนของชุมชน
ทรัพยากรธรรมชาติ, ทรัพยากรการผลิตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปของกลุ่มคนเฉพาะกลุ่ม, การจัดการทรัพยากรการผลิตอยู่ในระบบการผูกขาดชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรเพื่อรักษาการบริการทางนิเวศบนฐานวัฒนธรรมและค่านิยมของชุมชน, การเข้าถึงทรัพยากรการผลิตควรมีการจัดการผ่านการปฏิรูปภาคการเกษตรเพื่อให้เกิดการเข้าถึงที่เป็นธรรมและเท่าเทียม
รูปแบบการผลิต, ปัจจัยการผลิตทำการเกษตรเชิงเดี่ยวเพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมเกษตร, เน้นการพึ่งพิงปัจจัยการผลิตภายนอกไร่นาและชุมชน ด้วยการใช้พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ลูกผสม ปุ๋ยเคมี สารเคมีสังเคราะห์และเทคโนโลยีการผลิตอย่างเข้มข้นทำการผลิตผสมผสานในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เช่น นิเวศเกษตร เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร ฯลฯ ที่เน้นการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่ำ, พึ่งพิงปัจจัยการผลิตภายในไร่นาเป็นหลัก ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในกระบวนการผลิต
เกษตรกร, ชุมชนเกษตรกรมุ่งเน้นผลิตเพื่อขาย และทำการเกษตรในพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูง, เกษตรกรรายย่อยที่อยู่ในบทบาทผู้ผลิตนั้นมีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับชุมชน หรืองานพัฒนาร่วมกับชุมชนที่จำกัดเกษตรกรรายย่อยเป็นส่วนสำคัญในการปกป้องความมั่นคงทางอาหารของชุมชน, บทบาทของเกษตรกรในฐานะผู้ผลิตมีความสัมพันธ์กับชุมชนอย่างใกล้ชิดผ่านงานพัฒนาชุมชนที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน
ระบบอาหารในชุมชน, การปฏิรูปการเกษตรระบบอาหารในชุมชนมีความอ่อนไหวต่อความผันผวนของราคาผลผลิต ปัจจัยการผลิต และปริมาณผลผลิต, การปฏิรูปการเกษตรที่เน้นตลาดนำการผลิต โดยเน้นการลงทุนการเกษตรเชิงเดี่ยวและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นหลักระบบอาหารในชุนชนได้รับการปกป้องผ่านระบบการผลิตที่หลากหลาย โดยอยู่บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและการผลิตเชิงเกษตรนิเวศ, การปฏิรูปการเกษตรที่มุ่งกระจายการถือครองที่ดิน ทรัพยากรการผลิตให้กับเกษตรกรรายย่อย
การค้า, ราคาส่งเสริมการค้าเสรีที่มุ่งเน้นการขายและส่งออก, ราคาผลผลิตทางการเกษตรขึ้นกับกลไกทางการเกษตร ระบบผูกขาดที่มีพ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดสินค้า ราคาผลผลิต จุดจำหน่าย และการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรม โดยเริ่มจำหน่ายที่ตลาดชุมชนก่อน หากเหลือถึงขยับขายที่ห่างไกลออกไปทีละนิด, ราคาผลผลิตที่เป็นธรรมระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค
นโยบายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เช่น พื้นที่คุ้มครอง พื้นที่อุทยานแห่งชาติ น้ำ อากาศ ธาตุอาหาร ฯลฯ ส่งเสริมการส่งออกผลผลิตทางการเกษตร โดยที่กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมไม่ควรกีดกันหรือรบกวนการทำงานของกลไกการตลาดเสรีนโยบายการเกษตรและสิ่งแวดล้อมไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้ กล่าวคือ แนวทางการปฏิบัติการส่งเสริมการทำเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติที่มีความเชื่อมโยงในระบบนิเวศ

อ้างอิง : สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน. (2555). หนังสือเกษตรอินทรีย์ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนและระบบตลาดที่เป็นธรรม

Mahinda Senevi Gunaratne, R.B. Radin Firdaus & Shamila Indika Rathnasooriya. (2021). Climate change and food security in Sri Lanka: towards food sovereignty. Humanities and Social Sciences Communications. https://doi.org/10.1057/s41599-021-00917-4

Sara Slavkova. (2019). Conventional vs Sustainable Agriculture: Can sustainable agriculture feed the world?.  https://www.veteransoffgrid.org/blog/conventional-vs-sustainable-agriculture-can-sustainable-agriculture-feed-the-world

บทความแนะนำ