โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

“เมื่อคนเลหันมาปลูกผักกินเอง”

เมืองพัทลุงมีความหลากหลายทางภูมินิเวศน์ อันดูได้จากอาณาเขตด้านทิศตะวันตกจดเทือกเขาบรรทัดซึ่งเป็นแนวเขาสลับซับซ้อน พาดผ่านเป็นแนวเหนือ-ใต้ ทำให้บริเวณนั้นมีภูมิประเทศเป็นป่าดิบชื้น ผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้หรือสวนยางพาราเป็นส่วนมาก พืชผักธรรมชาติยังพอมีให้เก็บกิน ตอนกลางของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มสลับกับโคกควน ผู้คนแถบนี้ทำนาในที่ลุ่มตรงโคกควนอาจมีสวนยางพารา หรือผลไม้ ผู้คนนิยมปลูกพืชผักต่างๆไว้บริโภคในครัวเรือน เหลือจึงขายต่อสว่นอาณาเขตด้านนตะวันออก
พื้นที่บริเวณนี้จัดทะเลสาบสงขลา ผู้คนอาศัยอยู่แนวลุ่มน้ำตามแนวชายฝั่งทะเลสาบตามแนวเหนือ-ใต้ มีชีวิตผูกพันกับวิถีทำประมง นาข้าว สัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดปี ผืนดินแถบนี้เป็นดินเหนียว ดินทราย หรือมีลักษณะแข็งปลูกพืชพรรณต่างๆไม่ค่อยงอกงาม และเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก จะเกิดน้ำท่วมขังในบริเวณนี้เป็นวงกว้าง และยาวนาน ถึงช่วงนี้จึงเป็นปรกติที่จะเห็นผู้คนแถบนี้สัญจรไปมาหาสู่กันด้วยเรือ คนที่เติบโตขึ้นมาโซนลุ่มน้ำทะเลสาบลงขลาส่วนใหญ่จึงโตมากับสายน้ำ มีความเชี่ยวชาญด้านการจับสัตว์น้ำ หรือทำนาตามฤดูกาล เมื่อวิเคราะห์ดูจะเห็นได้ว่าเมืองพัทลุงมีภูมินิเวศน์ใหญ่ๆเป็น 3 โซน คือโซนป่าในแนวเขตเทือกเขาบรรทัด โซนนาในบริเวณที่ราบลุ่มตอนกลางและโซนเลในแนวชายฝั่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
กล่าวถึง….คนในโซนลุ่มน้ำะเลสาบของเมืองพัทลุง มักมีวิถีชีวิตผูกพันกับสายน้ำทะเลสาบ ทำให้การเป็นอยู่ของผู้คนแถบนี้อาศัยพึ่งพิงความสมบูรณ์ของทรัพยากรที่มีอยู่มากมาย โดยเฉพาะทรัพยากรจากทะเลสาบ ไม่ว่าจะเป็นกุ้ง หอย ปู ปลา และอื่นๆ หรือจะเป็นผืนดินแถบนี้เหมาะแก่การทำนาข้าว จึงทำให้ที่นี่ได้ชื่อว่า ดินแดนซึ่งในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แต่ในความบริบูรณ์ด้วยทรัพยากรต่างๆเหล่านี้หรือเป็นด้วยที่ภูมิประเทศติดทะเลสาบ ทำให้พื้นที่บริเวณนี้ไม่ค่อยเหมาะแก่การปลูกพืชผักต่างๆ
เนื่องด้วยอาจเป็นเพราะผืนดินมีสภาพเป็นดินเหนียว ดินทราย หรือดินเหนียวปนทราย ทำให้ดินมีลักษณะแข็ง กระด้างยากแก่การขุดหรือเพาะปลูก อีกทั้งเมื่อฤดูน้ำหลากมาถึงน้ำก็ท่วมขังยาวนาน อาจกินเวลาเป็นเรื่องจริงว่ายังมีผู้คนในพื้นที่แถบนี้ไม่เคยรับประทานผักหลายชนิดที่คนทั่วไปทานกันอยู่ประจำ เช่นกรณีมะละกอของป้าเอียด แต่นั่นเมื่อหลายปีก่อนปจุบันทั้งนักเรียนและครูคุ้นเคยกบั การบริโภคผักโดยเฉพาะจากในรั้วโรงเรียนเมื่อถึงวนัพุธ วันแกงเลียงอีกทีป้าเอียดเองก็คุ้นเคยกับการประกอบอาหารจากพืชผักมากขึ้น ผอ.แอนยังเสริมว่าต่อไปว่าอยากส่งเสริมให้วัฒนธรรมการบริโภคผักเกิดกับทางบ้านของเด็กนักเรียนด้วย กล่าวคือการบริโภคผักควรจะมีในทุกมื้อไม่ใช่จำกัดเฉพาะกับอาหารกลางวันเท่านั้น……..

บทความแนะนำ