โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

วันที่ 16 ธันวาคม 2562

          วิถีชีวิตเดิมๆหรือวัฏจักรเดิมๆของชาวนาคือ ปลูกข้าว แบ่งไว้กิน และขายข้าวเปลือกให้โรงสี แต่ที่วิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวอินทรีย์ครบวงจร ต.วังหลวง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ดแห่งนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ที่นี่มีทั้งโรงสีขนาดใหญ่ และมีโรงงานผลิตแป้งข้าว

         สิ่งที่ทำให้ที่นี่แตกต่างไปคือ การมีแนวคิดจากการสรุปบทเรียนของกลุ่ม โดยมีแกนนำหญิงคนสำคัญ 2 คนคือพรรณี เชษฐ์สิงห์และสุมณฑา ดวงวงษ์ ทั้งสองคิดว่า ถ้ากลุ่มพัฒนาต่อยอดเรื่องข้าวก็จะมีสมาชิกมาปลูกข้าวในระบบเกษตรกรรมยังยืนเพิ่มมากขึ้น ผลผลิตข้าวของกลุ่มก็จะมากขึ้น ทางแก้ปัญหาข้าวล้นตลาดคือ การแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิต ประกอบกับการประเมินสถานการณ์ว่าปัจจุบันคนรักสุขภาพมากขึ้น หันมาดูแลตัวเองมากขึ้น และกินข้าวน้อยลง

          สินค้าหลักของกลุ่มนอกจากข้าวเปลือก ข้าวสารแล้วก็คือ การแปรรูปจากข้าวเจ้าหอมมะลิและข้าวเหนียวไปเป็นแป้งข้าวใช้ทำขนมไทยและเบเกอรี่แทนแป้งสาลี การทำเป็นผงข้าวกล้องเพื่อสุขภาพสำหรับชงดื่มหรือโรยข้าว สินค้าเหล่านี้ได้สร้างรายได้ให้กับสมาชิกและกลุ่มจากการเปลี่ยนเมล็ดข้าวเป็นแป้งข้าว

          อีกเรื่องหนึ่งที่ทางมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนได้รณรงค์ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการให้คนไทยกินผักให้ได้วันละ 400 กรัมตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกนั้น วิสาหกิจแห่งนี้ได้ส่งเสริมและสร้างพื้นที่ปลูกผักอินทรีย์ร่วมกับสมาชิกโดยเฉพาะพืชผักที่เหมือนจะปลูกไม่ได้ในภาคอีสาน เช่น กะหล่ำปลี บล็อกเคอรี่ ฯลฯ โดยมีแกนนำการปลูกผักคือ อนุสรณ์ อโมกนิรันดร์ ซึ่งเขาพยามคิดค้นที่จะให้เกษตรกรปลูกผักมากขึ้นทั้งเพื่อกินในครอบครัวและเพื่อคนในชุมชนได้กินผักอินทรีย์เพิ่มมากขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ความมุ่งมั่นของเขาคือการต้องทำทุกวิถีทางที่จะทำให้ทุกคนเข้าถึงอาหารปลอดภัยได้ และหากทำอะไรให้เป็นที่นิยมนั้นต้องทำให้แปลกใหม่มีการประยุกต์เชื่อมโยง และมีอัตลักษณ์ซึ่งเสมือนลายเซ็นที่เป็นของตนเองด้วยคนถึงจะสนใจ         อนุสรณ์เล่าว่า ช่วงนี้มีการปลูกผักอินทรีย์ส่งโรงเรียนเพื่อนำไปทำอาหารกลางวันให้กับนักเรียน และแปลงผักของเขายังเป็นแปลงต้นแบบให้กับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ดได้ศึกษาวิจัยอีกด้วย 

          ผักที่นี่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี จึงทำให้ผักมีขนาดใหญ่โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆเลย และคนที่นี่เห็นความสำคัญของวัชพืชอีกด้วย ถ้าไม่มีหญ้าในแปลงผักของพวกเค้าผักก็ไม่สามารถเติบโตได้ขนาดนี้ ในอนาคต การต่อยอดจากการปลูกผักคือ มีผลิตภัณฑ์น้ำผักจำหน่าย ข้อเสนอของเขาคือต้องมีสมาชิกผู้ผลิตมากขึ้นเพียงพอที่จะทำให้เรามีพื้นที่อาหารปลอดภัยมากขึ้น         ความแตกต่างของที่นี่จึงเป็นการเพิ่มโอกาสของการสร้างอาหารชุมชนมั่นคงปลอดภัยให้กับคนในชุมชนและสังคม

บทความแนะนำ