โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

4 บทความภายใต้โครงการโรงเรียนกินได้ : ความมั่นคงทางอาหารของโรงเรียน กรณีศึกษาโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลจองถนนหมู่ที่ 5 ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุงอาหารของโรงเรียน ป้ายเมนูอาหารขนว่าผัดผักบุ้ง กับแกงเลียง ผิดคาดนิดหน่อยเพระคิดว่าต้องมีอาหารทะเล หรืออย่างน้อยก็ต้องมีปลาเป็นเมนูหลัก สอบถามป้าเอียดแม่ครัวประจำโรงอาหารแห่งนี้ว่าทำไมถึงแกงเลียง แกเหมือนไม่ค่อยเข้าใจ ตอบมาแบบยากจะเข้าใจ ว่าวันนี้วันแกงเลียง ก่อนจะงงกันไปใหญ่ ผอ. แอนก็เลยเฉลยว่าทุกวันพุธโรงอาหารต้องมีแกงเลียงเป็นเมนูหนึ่ง ป้าเอียดจึงเรียกว่าแกงเลียง ซึ่งได้สร้างรอยยิ้มให้กับทุกคน ถามป้าเอียดถึงที่มาของส่วนประกอบแกงเลียง ก็จับความได้ประมาณว่า ได้พืชผักจากในรั้วโรงเรียนส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งก็จากพ่อแม่เจ้าพวกนี้พรางชี้มือไปที่นักเรียนที่กำลังรับประทานอาหารกันอยู่ ที่เหลือก็ชื้อจากชุมชน ช่วงไหนของไม่พอก็ชื้อแถวตลาด ระหว่างสนทนากันนั้น ผอ.แอนเสริมให้ฟังว่าป้าเอียด

เมื่อก่อนนั้นก็ไม่ทานผักเลย เดี๋ยวนี้ก็ยงัไม่ค่อยทานแล้วเมื่อโดนผอ.แอนหว่านล้อมกึ่งบังคับให้ต้องประกอบอาหารให้เด็กรับประทานนั้นต้องมีผักเป็นส่วนประกอบในทุกมื้อ โดยเฉพาะวันพุธซึ่งเป็นวันแกงเลียงผัก แรกทีเดียวแกอิดออดไม่ยอมทำอาหารที่ต้องใส่ผัก แกชอบแกงปลาหรืออื่นๆอย่างเดียวโดยไม่มีผักเลย เมื่อครั้งหนึ่งแกทำอาหารกลางวันแล้วทางผอ.แอนบอกให้ใส่มะละกอลงไปด้วย แกถึงกับตกใจว่าจะกินได้อย่างไร เกิดมาแกยังไม่เคยกินรอยยิ้มและเสียงหัวเราะเกิดอีกครั้งที่โรงอาหารแห่งนี้เป็นเรื่องจริงว่ายังมีผู้คนในพื้นที่แถบนี้ไม่เคยรับประทานผักหลายชนิดที่คนทั่วไปทานกันอยู่ประจำ เช่นกรณีมะละกอของป้าเอียด แต่นั่นเมื่อหลายปีก่อน ปัจจุบันทั้งนักเรียนและครูคุ้นเคยกับการบริโภคผัก

โดยเฉพาะจากในรั้วโรงเรียนถึงวันพุธ วันนี้แกงเลียงอีกทั้งป้าเอียดเองก็คุ้นเคยกับการประกอบอาหารจากพืชผักมากขึ้น ผอ.แอนยังเสริมว่าต่อไปว่าอยากส่งเสริมให้วัฒนธรรมการบริโภคผักเกิดกับทางบ้านของเด็กนักเรียนด้วย กล่าวคือการบริโภคผักควรจะมีในทุกมื้อ ไม่ใช่จำกัดเฉพาะกับอาหารกลางวันเท่านั้นคนลุ่มนำทะเลสาบสงขลา มีชีวิตผูกพันกับกับวิถีวัฒนธรรมดั้งเดินยาวนานเช่นเดียวกับพฤติกรรมในการบริโภค

เมื่อแต่เดิมพืชผักมีน้อยจึงส่งผลให้การบริโภคน้อยตามไปด้วย ยิ่งสั่งสมมารุ่นต่อรุ่น กลายเป็นความเคยชินจนเกิดเป็นวัฒนธรรมประจำถิ่น ใช่แต่ว่าคนรุ่นใหม่ไม่บริโภคผัก คนรุ่นเก่าก็เช่นกัน ด้วยภูมินิเวศน์แถบนี้ไม่ค่อยเหมาะสมกับการปลูกพืชผักตามแนวทางปรกติทั่วไป ดังนั้นควรมีการหันมาใช้นวัตกรรมการปลูกผักในแบบฉบับต่างๆ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับพื้นที่และฤดูกาล เช่นดังโรงเรียนเทศบาลจองถนนกา ลงปฏิบัติโดยอาจเริ่มจากนักเรียนซึ่งการปลูกฝังการบริโภคตั้งแต่เล็กๆ ขยายไปสู่ระดับครอบครัว และระดับชุมชนต่อไป เชื่อว่าต่อไปเด็กๆที่เติบโตขึ้นวันนี้จะมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคผัก เกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่ให้คนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาและที่อื่นๆที่พวกเขาและเธอเหล่านั้นอาศัยอยู่สืบไป

บทความแนะนำ