โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

พี่จ๋าเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.สงขลา 

โครงการที่ทำ มี 5 โครงการ มีสมาชิก 30 ครอบครัว /นาทวีทำข้าวไร่ 70 ราย รวมๆ 500 ราย จุดประสงค์หลัก ของโครงการทำข้าวไร่ คือ อนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุกรรมขเวไร่ และฟื้นฟูเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ เมล็ดพันธุ์ที่ปลูกกับไร่ได้ มีเกือบ 100 ชนิด มีเมล็ดพันธุ์ที่ลิสไว้เกือบ 30 ชนิด ที่มันหายไปจากชุมชน ส่วนที่มีอยู่ทั้งข้าวจ้าวและข้าวเหนียว รวมกันเกือบ 10 สายพันธุ์ 

คุณนันทา ประสานวงษ์ ตำแหน่ง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านโฉนดชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม (พี่นัน) 

  เราพึ่งทำเกษตรอินทรีย์มาได้ 6 ปี เริ่มมาตั้งแต่ปี 2555 เราเริ่มทำหลังจากนืท่วมใหญ่ในกทม.ปี 2554 ในจ.นครปฐม ท่วม 100% ท่วมจนต้นไม้ไม่เหลือเลย หลังจากน้ำท่วม พอปี 2555 เกษตรกรเริ่มทำเกษตรแล้วได้ผลผลิตดีมากโดยที่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยใช้ยาเลย ได้ผลิตข้าวไร่หนึ่งเป็นตัน(1,000 กิโลกรัม) ที่จริงแล้วน้ำไม่ได้เป็นตัวทำลายทุกอย่าง เป็นได้ทั้งตัวทำลายพืชผัก และทำลายระบบนิเวศที่เสียไปด้วย และน้ำก็เป็นตัวสร้างระบบนิเวศขึ้นมาใหม่ แต่ตัวเกษตรกรเป็นคนทำให้ระบบนิเวศเสีย ช่วงน้ำท่วมเราต้องรอการช่วยเหลือจากภาครัฐเพราะเราไม่มีพันธุ์ข้าวเป็นของตัวเอง

จากน้ำท่วมครั้งนี้ ทำให้เราคิดเราต้องปรับตัวมาทำเกษตรอินทรีย์ เพราะธรรมชาติเค้าสร้างให้คุณแล้ว พวกเราคิดว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะทำ ดังนั้นถามว่าเราคิดว่ามันจะไปรอดไหม มันไม่มีอะไรมาการันตีว่าเราจะไปรอด พวกเราก็เป็นกำลังใจให้กัน ถ้าเรารอรัฐมาช่วยก็จะเหมือนตอนประกันราคาข้าว แต่ถ้าเราเป็นผู้ผลิตเอง ขายเอง เราก็จะมีพันธุ์ข้าวเป็นของตัว

เราจะเป็นคนกำหนดราคาข้าวเอง โดยไม่ต้องพึ่งโรงสี เราไม่ต้องเอาข้าวไปขายให้โรงสี แล้วโรงสีกลับมากดราคาเราว่าคุณจะได้แค่ 5,000-6,000 บาท/ตัน แต่เราปลูกข้าวเอง กำหนดราคาข้าวเอง แต่สิ่งหนึ่งที่เราคิดที่จะปลูกข้าวเองคือ “เราเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี” ในตอนนั้นเราไม่คิดว่าจะขายข้าวให้คนอื่นเรามองตัวเราก่อนว่า เราได้รับสุขภาพที่ดี คุณแม่เป็นมะเร็งปอด

ยังไม่มีหน่วยงานไหนการันตีว่ามะเร็งเกิดจากสารเคมี แต่เราเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งหรือ 70 % ในการเกิด ถ้าเราทำเกษตรแบบนี้เราเชื่อว่าครอบครัวเราจะเป็นคนที่มีสุขภาพที่ดี เรายอมสุขภาพดีตอนนี้ ดีกว่ามีเงินเยอะๆแล้วไปหาหมอ ไปซื้อประกันราคาแพงๆในตอนนั้น เราทำอินทรีย์ ทำ100 ยังเหลือ 100  เราทำเคมี ทำ200 ได้ 200 ก็จริง แต่ในวันข้างหน้าเราอาจจะจ่าย 400 ไปเพื่อรักษาสุขภาพ เพราะตอนนี้หลักประกันสุขภาพบางเรื่องเค้าก็ไม่ยอมรับ ในการรักษาสุขภาพในเกษตรกร ย้อนกลับมากลุ่ม หันกลับมาทำเรื่องข้าว สมาชิกของเรามีไม่เยอะ แค่ 10 ครอบครัว เพราะว่ามันก็จะมีปัญหาเรื่องการตลาด สิ่งหนึ่งที่เราทำข้าว ถ้าหากว่าเป็นภาคใต้ข้าวของพี่จ๋า ก็จะเป็นการทำข้าวของภาคใต้ นครปฐมเราก็มีข้าวที่เป็นของนครปฐม สมัยรัชกาลที่ 4-5 เค้าจะเรียกว่า มณฑลนครชัยศรี ในนครปฐมก็จะมีข้าวที่เป็นพื้นถิ่นของจ.นครปฐมหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์หนึ่งที่เรานำกลับมาปลูก และมันหายไปจากนครปฐมเลย 50 ปี คือ ข้าวหอมนครชัยศรี ซึ่ง้ราไม่ได้ตั้งเองมันมีมาแต่โบราณ เราย้อนกลับไปเอามาจากบรรพบุรุษ และก็มีเรื่องราวในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้ข้าวของนครชัยศรีหุงข้าวถวายและต้องใช้น้ำจากแม่น้ำเพชร เอามาหุงข้าว น้ำจากแม่น้ำเพชรถือเป็นน้ำที่บริสุทธิเรามองว่า ข้าวที่มีมาแต่สมัยโบราณมันเริ่มหายไป คนรุ่นใหม่ใครรู้จักข้าวอะไรบ้าง ไม่มีใครรู้จัก รู้จักอย่างเดียวคือหอมมะลิ มันภาพสะท้อนว่าเด็กรุ่นใหม่ไม่รู้จักสิ่งที่มันกำลังจะหายไป สิ่งที่บรรพบุรามีมา และก็ขาดการรักษาอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเราก็เลยนำข้าวพื้นเมือง”ข้าวพญาชม” เป็นข้าวในสมัยรัชกาลที่ 5  “ข้าวทองระย้า” ซึ่งการประกวดข้าวมีมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วข้าวทองระย้าได้ชนะในการประกวดข้าว เราก็เลยย้อนกลับไปว่า ข้าวพวกนี้เอากลับให้คืนพื้นถิ่นของแต่ละพันธุ์ ได้ปลูกกิน ถ้าเกิดภัยพิบัติขึ้นเรามีข้าว รัฐบาลยังไม่มาอย่างน้อยๆกินข้าวกับน้ำปลาก็ยังดี ไม่ใช่ว่าวันหนึ่งเรารอรัฐบาลเอาข้าวมาส่ง บูดบ้างไม่บูดบ้าง คือความยั่งยืนมันไม่มี ถ้าเกิดเหตุใดๆเนี่ยเรายังมีข้าวเป็นของตัวเอง เรามีข้าวแล้วเราก็ต้องถามสุขภาพ ข้าวในระบบสารเคมี ไม่สามารถทำให้พวกเราอยู่ได้อย่างยั่งยืน และก็สุขภาพ เราก็ได้เริ่มปลูกมามันไม่ได้สำเร็จสวยหรู จากตอนแรกอาจจะมองว่าคุณทำได้ 1ไร่ จากได้ไร่ละ  1 ตัน ได้แค่ 300 กิโลกรัม แต่ถามว่าทำไมเราถึงต้องทำคือ ณ วันนี้ ถ้าเราเลิกเราจะรู้ได้ยังไงว่าเราจะถึง 500 กิโลกรัม หรือ 1,000 กิโลกรัม เป็นอีกมุมหนึ่งว่าเราต้องสร้างมูลค่า 300 กิโลกรัม แข่งกับข้าวเคมีไร่ละ 1,000 กิโลกรัม มันก็มีเรื่องราว ข้าวสุขภาพ กับข้าว ปลอดภัย มูลค่าข้าว 300 กิโลกรัม เที่ยบกับข้าว ไร่ละ 1,000 กิโลกรัม ผู้บริโภคเค้าเห็น การผลิตที่เราเห็นในระบบอินทรีย์จริงๆผู้บริโภคยอมซื้อ

ปัจจุบันนี้เราขายข้าวหอม นครชัยศรี ต่อปี ประมาณ 20 ตัน ข้าวหอมนครชัยศรีเป็นข้าวนาปี ยังไงก็ผลิตได้ไม่ถึงไร่ละตันมันเป็นลักษณะของข้าวอยู่แล้ว ปัจจุบันนี้ เราผลิตได้สูงสุด ไร่ละ 500 กิโลกรัมข้าวเปลือก สามารถอยู่ได้ลองเที่ยบแปลงเคมีกับแปลงอินทรีย์ 10ไร่คู่กัน ว่าใครจะได้ผลผลิตมากกว่ากัน ปรากฎว่า ข้าวอินทรีย์ ได้ ไร่ละ 500 กิโลกรัมข้าวเปลือก ส่วนข้าวเคมีได้ไร่ละ 1,000 กิโลกรัม เค้าไปขายโรงสีได้ตันละ 6,000-7,000 บาท ส่วนอีกคนได้ 5 ตันกลุ่มเรารับซื้ออยู่ ตันละ20,000 บาท เป็นการประกันราคาให้กับเกษตรกร เค้าทำน้อยแต่มูลค่าได้มาก 5 ตัน 20,000 บาท = 100,000 บาท เคมี 10 ตัน 6,000 บาท = 60,000 บาท ยังไม่ได้หักลบต้นทุนกำไร แปลงนั้นปัจจุบันอยู่ไม่ได้ เค้าไม่สามารถปลูกในระบบเคมีได้ ปัจจุบันนี้เค้าหันมาทำนาบัวอิทรีย์ เกิดการชี้ให้เห็นต้นทุนกำไร มันสามารถปลูกได้ผลผลิตน้อยก็จริง แต่มันมีมูลค่าของตัวข้าวนั้นๆแต่กว่าที่เราจะได้มูลค่าตรงนี้มันต้องอาศัยระยะเวลาปีแรกที่เราหันกลับมาเราต้องมีการปรับปรุงดิน ๆ ราคาต้นทุนในการที่เราปรับปรุงที่ระยะปรับเปลี่ยนของแปลงเคมีมาเป็นอินทรีย์ ตกไร่ละประมาณไร่ละ 5,000-6,000 บาท เพราะดินในสภาพที่เค้าเคมี มีมาตลอดอายุเค้า20-30 ปี มันแทบจะไม่มีธาตุอาหารที่ระบบนิเวศจะเกิดขึ้นได้เลย แมลงไม่มีเกลี้ยงเลย ดังนั้นเราต้องเอาสารอินทรีย์วัตถุ ไม่ว่าจะเป็นมูลสัตว์ สารชีวพันธ์ต่างที่เราทำขึ้นเอง ไปปรับปรุงดิน 3 ปี ต้นทุนถึงจะอยู่ไร่ละประมาณ 2,000 บาท ครั้งแรกต้นทุนขึ้นสูง เกาตรกรทุกคนใจไม่ดีแต่กลุ่มเราสิ่งหนึ่งที่เค้าปรับมาเป็นอิทรีย์ข้างหลังเค้ามีหนี้สินเค้ามีญาติเป็น ธกส. เราต้องวางแผนให้ด้วยว่า พอหันกลับมาปุ๊บเค้าต้องออกจากระบบทุน หลุดจากนายทุน เราจะช่วยเค้ายังไงให้มาอยู่ระบบเรากว่าที่เค้าจะลืมตาอ้าปากได้ ในส่วนหนึ่ง เริ่มแรกเราทำพืชเชิงเดี่ยว เราทำเรื่องข้าวอย่างเดียว 4-5 เดือน ถึงจะมีรายได้ ระหว่าง4 เดือนนี้ลูกเรากินข้าว ลูกเราต้องไปโรงเรียน มีรายจ่ายค่าน้ำค่าไฟเกิดขึ้นตลอดเวลา เท่ากับว่าเราได้เงินจากนาข้าวมากิน 4 เดือนหมด ไม่ได้ใช้ เราต้องทำใหม่ไอ้ที่เรากินทุกวันเราจะเอาไรใช้ เราจะเอาเงินที่ไหนกิน แล้วเงินจากข้าวที่ได้เป้นก้อนเอาไว้ใช้หนี้ คนมันต้องกินผักทุกวัน เราถึงได้เริ่มกลับมาปลูกผักกินเอง ในระบบเกษตรอินทรีย์ เริ่มแรกให้เค้าปลูกสิ่งที่เค้าถนัด ให้เค้าปลุกสิ่งที่เค้ากิน ปลูกสิ่งหนึ่งเราก็เอาไปออกตลาด ข้าวเนี่ยคนเมืองเค้าจะกินกันเดือนหนึ่งไม่กี่โล แต่ผักเนี่ยกินทุกวัน เราปลูกผักขายทุกวัน ถ้าบ้านไหนปลูกผักขายจะมีรายได้ทุกวัน วันละ100 วันละ50 บาท อย่างน้อยๆเราไม่ต้องชักเงินข้าวมากิน เรามีเงินขายผักเป็นตัวประกันรายได้แล้ว ลูกฉันจะมีรายได้ ฉันมีการวางแผน เงินก้อนที่เราได้จากข้าวเราจะเอาไปใช้หนี้ อันนี้เป้นระบบของพวกเราที่ เราเคยบอกกับรัฐบาลว่า รับบาลไม่เคยลงมามองว่าพวกเรามีหนี้สินแล้วจะแก้ยังไง ไม่จำเป็นว่าเค้าจะต้องปล่อยเงินกู้อย่างเดียว เราม่อยากกู้เรากู้มาพอแล้ว เราอยากจะปลดแอกตรงนั้น มันก็เลยเป้นวิธีของกลุ่มเรา คือ 1. ทุกคนจะต้องมีแปลงนาเป็นรายได้หลัก

2. คือรายได้เสริมคือแบ่งพื้นที่คนละ 1 ไร่ เพื่อเอามาปลูกผักแล้วมีรายได้ แล้วก็มีคำถามว่าปลูกผักแล้วเอาไปขายที่ไหน มันเป็นปัญหาหลักเลยตรงนี้ ที่เราจะต้องทำ พอเราปลูกผัก เราก็ต้องหาตลาด ซึ่งเป็นความโชคดีของเรา เราก็พาผักของเราไปขายในเมือง ไปตามหน่วยงานราชการ ไปตามองค์กร พวกนี้ไปตามมหาลัยที่เค้าจัดตลาดเราก็ขอเข้าไป แต่สิ่งหนึ่งที่เราเข้าไปขอเข้าไปในนามกลุ่ม ของดเว้นค่าแผง ถ้าเราไม่เก็บค่าแผงเราจะขายผักถุง 20 บาท แต่ถ้าคุณเก็บค่าแผงเราขายผักถุงละ 30 บาท พวกคุณจะได้กินของแพง ให้เลือกเอาว่าอยากคนในองค์กงของคุรกินของแพงหรอ กลุ่มเราโชคดีที่ได้มีพื้นที่จำหน่ายโดยไม่เสียมูลค่าแผง ซึ่งในเมื่อเราไม่เสียค่าแผง ก็สามารถขายผักในระบบอินทรีย์เอาไปให้เค้าบริโภคได้

กลุ่มเราก็ขายข้าวขายผักมาตั้งปี 2555-2562แล้ว จากเดิมก็เป็นคนมีอายุขายของแล้วมันเหนื่อย กลับมาทำสวน กลับมา ทำนาไม่ไหว เราก็เลยเอาสมาชิกลูกหลานเราที่ทำงานในเมือง โดยเอาคอขึ้นเขียง ให้ออกมาทำกับเรารายได้จะมากกว่า ก็มีสมาชิกรุ่นใหม่เป็นสามีภรรยา 2 คู่ ก็มีการวางแผนว่าพวกเราเป็นเกษตรกรอายุเยอะแล้วเนี่ย ให้ไปออกตลาดอีกมันไม่ทัน เด็กรุ่นใหม่พอไปออกตลาดมันมีระบบโซเชียล มันมีเฟสบุ๊ค ลูกค้าสั่งของทางเฟสบุ๊คทางไลน์ไปขายได้ ตอนนี้คนรุ่นใหม่ ทั้ง 2 คู่ ปัจจุบันเค้าเค้าขายของอาทิตย์ละ 2 วัน มีรายได้ต่อเดือน 40,000 บาทหลังหักต้นทุนแล้ว ผลผลิตที่เอาไปขายก็จะมีผักพื้นบ้าน เราไม่ค่อยเน้นผักกวางตุ้งผักคะน้า เพราะว่ามันปลูกยาก ในเมื่อเรายังไม่ชำนาญตรงนั้น เราเชื่อว่าผักพื้นบ้านมันต้านทานต่อโรค ต้านทานต่อแมลง แล้วคุ้นกับเค้าว่าเค้าอยู่ยังไง ไม่ว่าจะป็นบวบ บวบมันไม่ออกลูกเราขายยอด ก่อนที่เราจะเอาไปขายเราต้องรู้และกินได้ก่อน เราต้องรู้ว่ามันสามารถเอาไปทำอะไรได้ ให้เรามองว่าในเมื่อหนอนมันยังกินเลย ทำไมเราจะกินไม่ได้ เราเน้นแบบนี้ที่เป็นผักพื้นบ้าน ยอดกระถิน ผักบุ้งแดง ซึ่งคนเมืองเค้าหากินไม่ได้ ในระบบนั้น อันนี้นี้อาจจะเป็นคนละระบบนิเวศของภาคใต้ ในความโชคดีมันก็มีปัญหามันผ่านมาเยอะว่า กว่าพี่น้องเกษตรกรกว่าจะผลิตข้าวได้ 500 กิโลกรัมได้ พวกเค้ามีสิ่งหนึ่งที่ต้องผ่านมันไปให้ได้ ในความที่พวกเค้าจะไม่มีรายเหมือนพวกเคมีเค้าคือ ความอดทน ถามว่ามันไปไม่ได้แล้วจะรอดหรอ เราต้องหาทางช่วยเค้า ถ้าเราผ่านไปได้เราจะยืนได้ด้วยตัวเอง เราไม่ต้องภาครัฐ เราไม่ต้องรอใคร มันก็จะมีเรื่องแป้ง พ่อแม่ปู่ย่าตายายก็ให้เอาข้าวสารในโอ่งไปโม่ แล้วเอามาทำขนมปังต่างๆเราเลยคิดว่าข้าวหอมนครชัยศรีมันน่าจะเอามาเพิ่มมูลค่าได้มากกว่าการที่เราขายข้าว เราก็เลยมาเวิร์กช้อปกัน มันเอามาทำขนมอะไรได้บ้าง ซึ่งในวันเราเวิร์กช้อปมันก็ทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ ขนมที่กวนแล้วสนุกสุดคือลอดช่อง กวนครึ่งวัน มันไม่เป็นลอดช่องกวนไปกวนมามันกลายเป็นเปียปูน อย่างน้อยเราก็รู้ว่าข้าวหอมนครชัยศรีทำลอดช่องไม่ได้ เราก็ย้อนกลับไปว่าคนโบราณกินข้าวแข็ง เราก็เอามาทำขนมกล้วย ทำขนมชั้น ขนมครก ปัจจุบัน เราก็เอาขนมต่างๆออกมาขายจนเป็นรายได้ เราจะใช้ตัวโม่แป้ง อันนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราจะต่อยอดไปได้ สามารถต่อยอดเพิ่มมูลค่าข้าว แต่สิ่งหนึ่งที่จะมาเป็นตรงนี้ได้เราต้องรวมตัวกันถ้าเราไม่รวมตัวรัฐก็จะเข้ามาช่วยเป็นไปได้ยาก มันเกิดจากความเข้มแข็งของพวกเราก่อน เราต้องบอกกับตัวเองก่อนว่าเราจะเป็นคนปลูกข้าว/ผักอินทรีย์โดยไม่ใช้สาร เราจะเป็นคนปลูกข้าวแล้วส่งให้กลุ่มอื่น พอข้างนอกเค้ามองเห็นความเข้มแข็งเค้าก็อยากจะเข้ามาช่วย เราขาดเหลืออะไรที่เราจะยอดให้มันไปตรงนั้นได้

รายงานผลตรวจเลือดผู้เข้าร่วมเสวนา อ.เทพา จ.สงขลา ทั้งหมด 84 ราย

ไม่ปลอดภัยจำนวน 31 คน  36%
มีความเสี่ยง 42 คน 50 %
ปลอดภัย 9 คน  10%

จะเห็นได้ว่าสารเคมีเหล่านี้สามารถเข้าไปอยู่ในทุกพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นพื้นดิน ต้นไม้ใบหญ้า หรือแม้กระทั่งสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามระบบนิเวศก็ตาม และยังพบในครรภ์มารดา สามารถส่งต่อไปยังเด็กทารกได้อีกด้วย  เราต้องกลับดูแลตัวเองกันได้แล้วมิฉะนั้นเราจะต้องเสียคนที่เรารักก่อนวัยอันควรไป 

บทความแนะนำ