กิจกรรมของเศรษฐกิจการค้า อาจจะมีทั้งผลดีหรือผลเสียต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ เช่น เศรษฐกิจการค้าย่อมสร้างรายได้เพิ่มให้กับผู้ผลิต ซึ่งในการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องมีการพัฒนาเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตควบคู่ไปด้วยแต่ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจการค้าก็อาจจะกระตุ้นให้เกิดการบริโภคในสิ่งที่ไม่จำเป็นเกิดปัญหามลพิษจากขยะของเสียจากการผลิตและการบริโภค ซึ่งสร้างผลเสียต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงผลกระทบของการค้าของผลผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างรอบด้าน เพื่อที่จะได้สามารถกำหนดมาตรการสนับสนุน/ผลักดันให้เศรษฐกิจการค้าเกษตรอินทรีย์เป็นไปในทางทิศทางที่ช่วยหนุนเสริมการพัมนาอย่างยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในการวิเคราะห์ผลกระทบต่อความยั่งยืนของเศรษญกิจการค้า อาจมีการศึกษาได้หลายมิติ เช่น สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และสิทธิมนุษยชนซึ่งมิติเหล่านี้สอดแทรกอยู่ในทุกขั้นตอนของการผลิต การจัดการจำหน่าย หรือแม้แต่การบริโภค (ดูตัวอย่างในแผนภูมิ)
ผลกระทบจากเศรษฐกิจการค้า
ผลกระทบของการค้าต่อความยั่งยืนโดยทั่วไปมีอยู่ 4 ด้านที่สำคัญ
1.ผลกระทบจากผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์มีหลายประเภทแตกต่างกัน บางผลิตภัณฑ์อาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย หรือการค้าเทคโนโลยีการผลิตที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการขยายตัวของการค้า ของผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีประเภทนี้ ย่อมเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม การค้าระหว่างประเทศอาจทำให้เกิดการถ่ายโอนของเทคโนโลยีการผลิตที่ดีนั้นจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง หรือทำให้ผู้ผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมขยายการผลิตเพิ่มขึ้นหรือผู้ผลิตอื่นๆหันมาใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นไปได้ว่าการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศมีผลกระตุ้นการใช้เทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน ปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดการเลือกใช้เทคโนโลยีการผลิต จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของตลาด หรือทั้งนโยบายของรัฐบาลทั้งในประเทศผู้ผลิตและประเทศผู้ซื้อ ดังนั้น ผลกระทบของผลิตภัณฑ์ของการค้าเกษตรอินทรีย์จึงเป็นผลด้านบวกสูง
2.ผลกระทบจากขนาดของการค้า
การค้าที่ขยายตัวขึ้นอาจก่อให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เนื่องจากทำให้การผลิตมีขนาดที่เหมาะสมขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีการใช้ทรัพยากรในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้มีการแข่งขันระหว่างผู้ผลิต ซึ่งผู้ผลิตที่ด้อยประสิทธิภาพกว่าก็ย่อมจะได้รับผลกระทบ จนอาจต้องปิดกิจการลง
นอกจากนี้ การค้าที่เพิ่มขึ้นย่อมช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันรายได้ที่เพิ่มขึ้นนี้อาจกระจุกตัวอยู่ในเมืองของคนเพียงบางกลุ่มในสังคม ทำให้เกิดปัญหาความไม่ทัดเทียมกันทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผู้คนที่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการค้ามักจะเปลี่ยนวิถีชีวิตไปในลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง
3.ผลกระทบทางโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
การขยายตัวตัวของเศรษฐกิจการค้าย่อมมีผลโดยตรงต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อการค้าขยายตัว การผลิตย่อมต้องย่อมต้องขยายตัวตามไปด้วย ส่งผลให้ถาคการผลิตบางส่วนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าถาคการผลิตต้องขยายตัวตามไปด้วย ส่งผลให้ภาคการผลิตบางส่วนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าภาคการผลิตที่ขยายตัวขึ้นเป็นภาคการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การค้านั้นจะช่วยกระตุ้นให้มีการพัฒนาการผลิตที่มีมลพิษมาก การขยายตัวเพิ่มขึ้นของภาคการผลิตนี้ย่อมไม่สร้างผลดีต่อความยั่งยืนของประเทศ
4.ผลกระทบโดยตรงของการค้า
ผลกระทบโดยตรงของการค้าและการขยายตัวของการค้าต่อสิ่งแวดล้อมก็คือ มลพิษที่เกิดขึ้นจากการขนส่ง และจากการแพร่ระบาดของสิ่งมีชีวิตที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง เมื่อการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น การขนส่งสินค้าก็ย่อมเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ส่งผลให้มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ซึ่งโดยมากพลังงานที่ใช้ในการขนส่งจะเป็นพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ส่งเป็นพลังงานที่มีปัญหามลพิษค่อนข้างมากอีกด้วย
ที่มา : เอกสารชุดความรู้ลำดับที่ 2 เกษตรอินทรีย์เศรษฐกิจการค้าที่ยั่งยืน โครงการนโยบายสาธารณะเพื่อความปลอดภัยด้านอาหารและเศรษฐกิจการค้าที่ยั่งยืน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย