แนวคิดและรูปแบบการทำตลาดทางเลือก
แนวคิดตลาดทางเลือกจากรณีศึกษา 5 กรณี คือ
1.กลุ่มผู้ผลิตพืชผักปลอดสารแม่ทา
2.ชมรมเพื่อนธรรมชาติ
3.ชุมชนศรีษะอโศก
4.ธุรกิจชุมชนโครงการพัฒนาอาชีพตาลโตนด
5.บริษัทมหาชนพืชผลธรรมชาติ จำกัด
เพื่อพัฒนาระบบการผลิต ไม่ว่าจะเป็น ผัก,ข้าว,หรือน้ำตาลโตนดในแนวทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นเบื้องต้นก่อน แล้วจึงเชื่อมโยงมาได้แก่การประสาน เชื่อมโยงผู้ผลิต และผู้บริโภค ซึ่งนอกจากเป็นการประสานผลประโยชน์ร่วมกันแล้ว ยังเป็นการร่วมกันใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนอีกด้วย สำหรับกรณีชุมชนศรีษะอโศกซึ่งมีแนวคิดในระบบคิดแบบบุญนิยทม ก็คือ การพัฒนาเพื่อให้คนพัมนางานในแนวทางที่จะร่วมกัน สร้างสรรค์ประโยชน์สู่สังคมแบบยั่งยืน
รูปแบบการทำตลาดทางเลือก
เมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะเห็นได้ แต่ละกลุ่มมีรูปแบบเฉพาะเจาะจง ตามเงื่อนไขปัจจัย และศักยภาพของแต่ละกลุ่มที่มีฐานอยู่เดิม เราจะเห็นได้ว่า รูปแบบการตลาดทางเลือกของบริษัทมหาชนพืชธรรมชาติ จำกัด เริ่นต้นจากกลุ่มผู้บริโภคแม่บ้านญี่ปุ่น ซึ่งแน่นอนการต่อตรงกับกลุ่มแม่บ้านญี่ปุ่นคงจะเกิดขึ้นไม่ได้หากบริษัทไม่ได้รับการสนับสนุนโดยตรง จากโครงการผสานชีวิตและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การบริหารงานของศูนย์อาสาสมัครญี่ปุ่น ที่มีประสบการณ์ความรู้ในเรื่องการทำตลาดทางเลือกและมีอาสาสมัครญี่ปุ่นคอยเป็นกำลังหนุนเสริม
ชมรมเพื่อนธรรมชาติ พัฒนาการทำตลาดทางเลือกจากฐานการทำงาน ของโครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง ซึ่งมีประสบการณ์ บทเรียนการทำงาน ทั้งในด้านการส่งเสริมในระดับพื้นที่และงานรณรงค์เผยแพร่ ผู้บริโภคในเรื่อง สมุนไพรรักษาโรค จึงสามารถสานต่องานตลาดข้าวปลอดสารเคมีได้อย่างมีประสิทธิผล
โครงการพัมนาอาชีพตาลโตนด พัมนาตลาดทางเลือกจากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในระดับชุมชน มาสู่การทำธุรกิจชุมชนในระดับภูมิภาคโดยอาศัยฐานประสบการณ์จากการทำธุรกิจชุมชนในระดับหมู่บ้านมาปรับใช้ในขณะที่ กลุ่มผู้ผลิตพืชผักปลอสารเคมีแม่ทาเอง ก็พัฒนางาน ตลาดทางเลือกมาจากด้านตลาด และชมรมผู้บริโภคในระดับจังหวัดทำให้งาน ของกลุ่มดำเนินไปได้ด้วยดี แม้ว่าจะยังคงมีปัญหาอุปสรรคอยู่บ้างในแง่การทำตลาดในท้องถิ่นก็ตาม
รูปแบบตลาดทางเลือก ของชุมชนศรีษะอโศก ในการทำตลาดให้บริการสินค้า แก่กลุ่มชาวอโศก โดยมิได้จำกัดประโยชน์เฉพาะกลุ่มหากแบ่งปันประโยชน์นั้นๆ สูุ่มชนภายนอกเป็นรูปแบบอีกลักษณะกนึ่ง ที่น่าสนใจแสดงให้เห็นถึง ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความซื่อสัตย์สุจริต และที่สำคัญสร้างให้เกิดแนวคิดบริโภคเท่าที่จำเป็นให้เกิดขึ้น
ที่มา : หนังสือตลาดทางเลือก หุ้นส่วนเพื่อสังคมใหม่ ผู้เขียน พรรณี โทวกุลพาณิชย์ ,วลัยอดออมพาณิช ,จันทนา เกตุแก้ว ,อารีรัตน์ กิตติศิริ ,อนุสรณ์ ไชยพาน