โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ข้อเสนอ

คณะนักวิชาการมีข้อเสนอต่อภาครัฐว่า 5 ประการโดยสรุปคือ

             1.ควรปรับเปลี่ยนหลักคิดและวิธีการบรรเทาความเดือดร้อน จาก “การสงเคราะห์ผู้เดือดร้อน” เป็น “การให้สวัสดิการถ้วนหน้า” หรือเปลี่ยนวิธีการจาก “คัดคนเข้า” เป็น “คัดคนออก” โดยรัฐควรใช้หลักคิดว่า คนส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดต่างได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐทั้งสิ้น ดังนั้น คนส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ และมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่ได้รับผลกระทบ
             2.จากบทเรียนการจ่ายเงินช่วยเหลือในโครงการคนไทยไม่ทิ้งกันที่มีสาเหตุสำคัญมาจากการขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน คณะนักวิชาการจึงมีความเห็นว่า การจัดสรรงบประมาณเพื่อฟื้นฟูและเยียวยาเศรษฐกิจอีก 400,000 ล้านบาทที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปนั้น รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน คณะกรรมการกองทุนชุมชนและหมู่บ้าน เนื่องจากการจัดสรรผ่านเครือข่ายภาคประชาชน จะทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้เดือดร้อนที่แท้จริง และเกิดการตรวจสอบได้
             3.ข้อเสนอต่อกองทุนประกันสังคม มีผู้ประกอบอาชีพประจำและเป็นผู้ประกันตนจำนวนหนึ่งที่มีสิทธิจากกองทุนประกันสังคม เนื่องจากนายจ้างให้หยุดงานหรือปิดกิจการ แต่การดำเนินงานของกองทุนประกันสังคมที่จะเบิกจ่ายกลับมีความล่าช้ากว่าของกระทรวงการคลังเสียอีก กระทรวงแรงงาน ควรเร่งรัดให้กองทุนประกันสังคมปฏิรูปการทำงานให้จ่ายเงินตามสิทธิของผู้ประกันตนโดยเร็ว ทุกวันนี้ผู้ประกันตนหลายคนสะท้อนความคิดเห็นทำนองเดียวกันว่า “ประกันสังคมหักเงินเราตรงเวลาทุกเดือน แต่พอเราเดือดร้อนจะได้รับเงินประกันตามสิทธิ กลับต้องรอเป็นเดือน”
             4.รัฐควรผ่อนปรนเปิดพื้นที่ค้าขายและการใช้พื้นที่สาธารณะอย่างมีการจัดการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดได้คลี่คลายลงและการดำเนินชีวิตของประชาชนก็ต่างตื่นตัวในการป้องกันตนเอง  ดังนั้นการเปิดพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ค้าขายอย่างมีการจัดการ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย มีเจลหรือแอลกอฮอล์ล้างมืออย่างทั่วถึง การจัดพื้นที่ไม่ให้ผู้คนอยู่ใกล้ชิดกัน การต่อคิวอย่างมีระยะห่าง ฯลฯ จะช่วยฟื้นชีวิตทางเศรษฐกิจให้คนจนเมือง และทำให้ผู้คนในเมืองมีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง และมีความปลอดภัยไปพร้อมๆ กัน
             5.ในช่วงภาวะวิกฤติ รัฐควรเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่รัฐให้แก่ผู้สูงอายุคนละ 600-800 บาท ต่อเดือนตามช่วงอายุ เป็น 2,000 บาท เพราะครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุต่างก็ประสบภาวะฝืดเคืองในช่วงภาวะวิกฤติ การเพิ่มเงินในส่วนนี้ขึ้นไประดับหนึ่งอย่างน้อยก็ช่วยแบ่งเบาภาระของครัวเรือนต่างๆ ได้
รายละเอียดจาก

– “คนจนเมืองในภาวะวิกฤตโควิด-19” : http://wow.in.th/YbOE
– การแถลงผลการสำรวจ “ผลกระทบด้านเศรษฐกิจของโควิด-19 ต่อคนจนเมือง” : https://www.facebook.com/104997847844232/videos/610579839537966/


บทความแนะนำ

เสวนาออนไลน์เวทีหารือสาธารณะ (National Dialogue) ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ การออกแบบ “ไทยพร้อม” สู่การขับเคลื่อนผักและผลไม้เป็นวาระแห่งชาติ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส.