โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

          ชุมชนบ้านดอนม่วง ตำบลหนองอึ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ “ป่าทาม” เป็นป่าที่อยู่ใกล้ชุมชน อยู่ในเขตที่ราบลุ่มมากที่สุด ชาวอีสานในเขตนี้จึงมีความคุ้นเคย รู้จักชื่อเรียกพรรณไม้ต่างๆ และเรียนรู้ประโยชน์และโทษของพืช สั่งสม สืบต่อกันมาหลายต่อหลายรุ่น แต่ปัจจุบันกลายเป็นที่รองรับขยะจากชุมชน ซึ่งเกิดจากคนในชุมชนและนอกพื้นที่ต่างพากันนำขยะจากครัวเรือนไปทิ้งในพื้นที่ป่า หลายคนทิ้งขยะไม่ลงหลุม ทิ้งขยะโดยไม่มีการคัดแยก ขยะทุกอย่างชาวบ้านเอาไปทิ้งรวมกัน เช่น กิ่งใบไม้ เศษของเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น หมอน ที่นอนเก่า รองเท้าเก่า เสื้อเก่า ขยะถุงกาแฟ หลอด หลอดไฟฟ้า ถ่านไฟฉาย และรวมไปถึงเศษอาหารทุกคนต่างทิ้งรวมกัน ขยะเปียกบูดเน่าส่งกลิ่นเหม็น บ้านกอกแก้วซึ่งเป็นบ้านที่อยู่ใกล้หลุมขยะได้รับผลกระทบ ขยะถุงพลาสติกปลิวกระจายไปตามทุ่งนา ที่นาแปลงข้างบ่อขยะได้รับผลกระทบ ขยะที่เกิดจากการทุบรื้อสิ่งก่อสร้างมีคนนำไปทิ้งรวมกับขยะทั่วไป ทำให้จัดการยากเพราะมีน้ำหนักมาก เวลาเผาขยะ กลิ่นที่เกิดจกการเผาส่งกลิ่นเหม็น อบต. ไม่เข้ามาจัดการ เมื่อคนเห็นขยะจำนวนมากเกลื่อนกลาดทำให้คนที่นำขยะไปทิ้งที่หลังก็ทิ้งตาม ไม่ลงหลุม ในช่วงหน้าฝน หากปีไหนน้ำหลากท่วมขยะจะลอยออกจากหลุมเกลื่อนกลาดทั่วทุ่งน่า ชาวบ้านกังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและการแพร่ระบาดของเชื้อโรค

          จาก “เวทีระดมความคิดเห็นและแนวทางในการจัดการขยะในระดับชุมชน” เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมาแกนนำและชาวบ้าน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านโต่งโต้นและบ้านดอนม่วง ตำบลหนองอึ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 30 คน จึงมีข้อเสนอและแนวทางที่ 3 หมู่บ้านจะทำร่วมกัน คือ คนในท้องถิ่นมีจุดที่นำขยะไปทิ้งที่ชัดเจน 2 จุด คือ ป่าชุมชนโนนไทจุดที่ 1 คือ ฝั่งทางบ้านกอกแก้ว และฝั่งทางด้านตะวันออกของป่า ปัญญาทั้ง 2 จุด มีสภาพที่ไม่แตกต่างกันมากนัก คนที่นำขยะไปทิ้งหลักก็จะเป็นคนในและนอกชุมชน สิ่งที่จะต้องช่วยกัน คือ

  1. ช่วยกันจัดการขยะที่เกลื่อนกลาดให้ลงหลุม
  2. ช่วยกันลดการใช้ถุงพลาสติก
  3. ร้านค้าชุมชนละเลิกการใช้ถุงพลาสติก รณรงค์ให้ชาวบ้านนำตะกร้ามาใส่ของเมื่อมีการซื้อสินค้า กรณีน้ำแข็งให้เอากระติกมาใส่
  4. คนในหมู่บ้านช่วยกันรณรงค์และบอกคนนอกชุมชนที่เอาขยะมาทิ้ง ให้เลิกนำขยะมาทิ้ง
  5. ออกข้อห้าม กติกาหมู่บ้านเพื่อลงโทษคนที่ฝ่าฝืน

          ในที่ประชุมยังมีการเชิญชวนให้มีการสมัครครอบครัวนำร่องในการจัดการขยะ ซึ่งมีหลายครอบครัวสนใจและจะเริ่มจัดการขยะในครัวเรือนของตนเอง ส่วนการจัดการขยะที่สามารถย่อยสลายได้ ที่ประชุมมีการเชิญชวนให้แต่ละครอบครัวช่วยกันจัดการ เช่น การนำไปทำเป็นปุ๋ยหมัก เศษอาหารให้นำไปให้สัตว์เลี้ยงก่อนทิ้งขยะให้มีการคัดแยกก่อนทิ้ง ขยะติดเชื้อและถ่านไฟฉาย ณ ปัจจุบัน อบต. ยังไม่มีนโยบายหรือวิธีการในการจัดเก็บ เป็นข้อกังวลใจของชาวบ้านว่าจะจัดการอย่างไร เรื่องนี้ยังไม่มีแนวทางแก้ไข ขยะแพมเพิสและผ้าอนามัย รณรงค์ให้มีการฝังกลบโดยแต่ละครอบครัวให้จัดการกันเองฝังกลบให้เรียบร้อย หากเป็นไปได้รณรงค์อย่านำไปทิ้งในที่สาธารณะ ให้แต่ละหมู่บ้านกลับไปปรึกษาลูกบ้านพร้อมกับการวางมาตรการในการจัดการขยะร่วมกัน

          ทั้งนี้ สิ่งเดียวที่จะทำให้ชุมชนกลับมาสวยงามอีกครั้งก็ คือ คนในชุมชนได้วิเคราะห์ปัญหาการจัดการขยะในครอบครัวและชุมชนตนเองร่วมกัน ซึ่งจะนำไปสู่การตระหนักรู้และกำหนดแนวทางการจัดการขยะร่วมกันในระยะยาว ทำให้เกิดแนวทางใน

บทความแนะนำ