โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ตอนที่ 18 เกษตรกรคืออาชีพที่ยากจนที่สุด

            ภาพการกลับคืนภูมิลำเนาของแรงงานในเมืองหลังรัฐบาลประกาศมาตรการล็อคดาวน์ การปิดสถานที่ต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดการตกงาน การไม่มีมีงานทำของคนจำนวนวมาก และหลายคนที่ยังมีหลังอิงในชนบทพากันกลับบ้านที่อย่างน้อยบ้านก็ไม่ต้องเช่า ข้าวไม่ต้องซื้อ พอหาอยู่หากินเลี้ยงตัวได้มากกว่าอยู่ในเมือง ตัวเลขของผู้กลับคืนสู่ภาคการเกษตรที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เตรียมโครงการเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 เช่น โครงการ “แรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นผืนดินเกษตรไทยด้วยศาสตร์พระราชา” ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป้าหมาย            
            
นัยของการมีโครงการต่างๆ ของกระทรวงเกษตรฯ ที่เตรียมการรองรับคือ การจินตนาการว่า ภาคการเกษตรจะเป็นที่หมายของผู้ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจโควิด-19 หากทว่า อาชีพเกษตรกร ยังเป็นคำถามใหญ่ว่า จะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีได้จริงหรือไม่ ?
            การย้อนมองสถานะของอาชีเกษตรกรจึงเป็นเรื่องสำคัญ !!
            ในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2560 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เผยแพร่รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในไทย ปี 2559 ผลสรุปคือ ในช่วงเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา ปัญหาความยากจนของไทยในภาพรวมเบาบางลงอย่างชัดเจน เห็นได้จากจำนวนและสัดส่วนของคนจนที่ลดลง จากประมาณ 28 ล้านคนในปี 2531 (สัดส่วนร้อยละ 65.2 ของประชากร) เหลือเพียง 5.8 ล้านคนในปี 2559 (สัดส่วนร้อยละ 8.6 ของประชากร) แต่หากมองสถานการณ์ในระยะสั้นที่จำนวนคนจนในปี 2559 ที่เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ถึงเกือบ 1 ล้านคน และคิดเป็นอัตราเพิ่มสูงถึงร้อยละ 19.8 ก็อาจจะไม่ใช่คำตอบว่าปัญหาความ             นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาในมิติของ “คนเกือบจน” (Near poor) ร่วมด้วย ซึ่งคนเกือบจนหรือกลุ่มเปราะบางนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 5.63 ล้านคน ในปี 2558 เป็น 5.79 ล้านคน ในปี 2559 และเมื่อ “คนจน” รวมกับ “คนเกือบจน” มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นจาก 10.4 ล้านคนหรือ ร้อยละ 15.5 ของประชากรทั้งหมด ในปี 2558 เป็น 11.6 ล้านคน หรือร้อยละ 17.2 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งยังเป็นสัดส่วนที่สูงและจัดเป็นกลุ่มเปราะบางที่ควรได้รับการเฝ้าระวังและควรมีมาตรการช่วยเหลือดูแลทั้งในระดับนโยบายของรัฐและระดับชุมชน

แผนภาพที่ 2  เส้นความยากจน สัดส่วนคนจน และจำนวนคนจน ตั้งแต่ ปี 2531-2559

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม ,2560

            ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการจากรายงานของสภาพัฒน์คือ การเพิ่มขึ้นของคนจนในปี 2559 นั้นแตกต่างไปจากสองครั้งแรก กล่าวคือ จำนวนคนจนที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี 2541 ถึง 2543 และในปี 2551 นั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากการหดตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่มีวิกฤตเศรษฐกิจหรือวิกฤตการเงิน แต่จำนวนคนจนที่เพิ่มขึ้นในปี 2559 กลับเกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจไทยยังคงเติบโตอยู่ และไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤตแต่อย่างใด ซึ่งหมายความว่า ในช่วงปี 2559 ในขณะที่คนกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ และสามารถสะสมความมั่งคั่งได้ คนอีกกลุ่มที่อยู่ด้านล่างของสังคมกลับเป็นฝ่ายเสียประโยชน์จากความมั่งคั่งที่ลดลง การเพิ่มขึ้นของคนจนในปี 2559 นี้จึงสะท้อนให้เห็นว่า แม้ว่าปัญหาความยากจนสัมบูรณ์ (absolute poverty) จะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ไทยยังคงต้องเผชิญกับปัญหาความยากจนสัมพัทธ์ (relative poverty) หรือปัญหา “ความเหลื่อมล้ำ” (inequality) ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน
            ในรายละเอียดของการประกอบอาชีพของคนจน พบว่า การประกอบอาชีพและภาคการผลิตของประชากรในกลุ่ม Bottom 40 พบว่า ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรและแรงงานทั่วไป โดย ร้อยละ 59.1 อยู่ในภาคเกษตรกรรม และอีก ร้อยละ 15.6 อยู่ในภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่ยังใช้แรงงานทักษะต่ำ โดยพบว่า ประชากรในกลุ่ม Bottom 40 มีลักษณะการประกอบอาชีพเช่นเดียวกับประชากรยากจนและเกือบจน กล่าวคือ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร แรงงานทั่วไป และไม่มีงานทำ รวมคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 47.88 ของประชากร กลุ่ม Bottom 40 ทั้งหมด ขณะที่มีเพียงร้อยละ 9.49 เท่านั้นที่ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตรและผู้ปฏิบัติงาน วิชาชีพ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประชากร Top 60 ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ปฏิบัติงาน วิชาชีพและผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร รวมคิดเป็นร้อยละ 42.07 ของประชากรในกลุ่ม Top 60 มีเพียง ร้อยละ 15.10 เท่านั้นที่เป็นเกษตรกรและแรงงานเกษตร

แผนภาพที่ 3  การประกอบอาชีพของกลุ่มประชากร ปี 2558

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , 2560

            รวมถึงข้อมูลรายได้และหนี้สินนับว่าเป็นตัวชี้วัดสำคัญถึงการพัฒนาของครัวเรือนเกษตรไทย ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า โดยเฉลี่ยรายได้ต่อหัวต่อปีของครัวเรือนเกษตรไทยอยู่ที่ 57,032 บาทในปี 2560 ซึ่ง ร้อยละ 66 มาจากภาคเกษตร และสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ต่อหัวต่อปีของครัวเรือนเกษตรไทยอยู่ที่ 1.3 เท่าในปี 2560 ซึ่ง ร้อยละ 69 มาจากภาคเกษตร เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของรายได้และหนี้สินรายครัวเรือน พบว่าเกือบ ร้อยละ 40 ของครัวเรือนเกษตรไทยยังมีรายได้ต่อหัวต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศคือไม่ถึง 32,000 บาท และ ร้อยละ 30 ของครัวเรือนเกษตรมีหนี้สินเกิน 1.3 เท่าของรายได้ต่อหัวต่อปี  โดยครัวเรือนมีหนี้สินเฉลี่ย 212,586 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ครัวเรือนที่ไม่ยากจนที่มีหนี้สิน 234,504 บาทต่อครัวเรือนต่อปี และครัวเรือนที่ยากจนมีหนี้ 151,073 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ปัญหาหนี้สินจึงเป็นวังวนของชีวิตเกษตรกรไทย
            เกษตรกร จึงหมายถึง อาชีพที่ยากจนที่สุดของประเทศไทย และหากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เบียดทับภาคการเกษตรแล้ว โครงการสนับสนุนจากภาครัฐจึงเป็นพียงทำให้คนที่หลั่งไหลกลับมาหาภาคการเกษตรกลายเป็นคนจนที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น…

บทความแนะนำ