โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ประวัติความเป็นมา
            เมื่อปีพ.ศ. 2529 ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ได้รับรวงข้าวแดงหอมจำนวนหนึ่งจากสถานีทดลองข้าวสุรินทร์จึงทำการปลูกคัดเลือกและแยกสายพันธุ์ชนิด ข้าวเหนียวและข้าวเจ้าออกจากกัน จากนั้นปี พ.ศ. 2531 นายสมเดช อิ่มมาก นักวิชาการเกษตรของศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ได้นำข้าวแดงหอมสายพันธุ์ KDML105R-PRE-5 เป็นพันธุ์แม่ผสมกับ IR64 และผสมย้อนกลับ (Back Cross) ไปหาพันธุ์แม่ 3 ครั้ง จนในปีพ.ศ. 2533 ได้ให้รหัสเป็นคู่ผสมของศูนย์วิจัยข้าวแพร่เป็น PRE90020 และพ.ศ. 2534 – 2537 ได้นำสายพันธุ์ข้าวที่ได้ไปปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก จนรับได้สายพันธุ์ดีเด่นจำนวน 10 สายพันธุ์ จนพบว่า สายพันธุ์ PRE90020-R36-PSL-8-3-14-3 เป็นสายพันธุ์ที่เป็นข้าวต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสง และมีลักษณะต่างๆตามที่ต้องการ
            ต่อมาพ.ศ. 2542 สถาบันวิจัยข้าวเสนอขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรเป็น พันธุ์ข้าวทั่วไปโดยใช้ชื่อว่า ข้าวหอมกุหลาบแดง
ลักษณะทั่วไป
            เป็นข้าวเจ้าสูงประมาณ 90 – 100 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 123 วันลำต้นแข็ง กอตั้งตรง แตกกอดี รวงแน่นปานกลาง ใบมีสีเขียว แก่ช้า ใบธงตั้งตรง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์ ท้องไข่น้อย ปริมาณมิโลส 13.9 % เป็นข้าวที่ให้ข้าวกล้องมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม ข้าวสุกนุ่ม เหนียว มีกลิ่นหอมเหมือนข้าวดอกมะลิ 105
คุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญ
            เส้นใยอาหาร      6.22     มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
            เหล็ก                 11.70               มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม
            แคลเซียม          107.20              มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม
            สังกะสี              23.60               มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม
            วิตามินบี1         0.22                  มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
            วิตามินบี2          0.01                  มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
            วิตามินบี6         0.08                  มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
            วิตามินอี            0.79                  มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
            โปรตีน               7.02                 กรัม ต่อ100 กรัม

แหล่งอ้างอิง
บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร จำกัด สาขาเชียงใหม่ และ คม ชัด ลึก, บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร จำกัด สาขาเชียงใหม่, สำนักวิจัยและพัฒนา กรมการข้าว

บทความแนะนำ