การปฏิวัติภาคการเกษตรในคิวบา
ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ 2019-10-10
การปลูกพืชเชิงเดี่ยว การใช้ปุ๋ยเคมี การทำการเกษตรเชิงอุตสาหกรรม ได้ทำลายความอุดม สมบูรณ์แห่งอนาคตของระบบนิเวศไปอย่างมาก ในขณะที่ต้นทุนของระบบการผลิตแบบนี้ยิ่งแพง มากข้ึน คำถามที่ว่า แล้วเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรทางเลือกอื่นๆ เช่น เกษตรนิเวศ ฟาร์มขนาดเล็ก การไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี จะผลิตอาหารเล้ียงคนทั้งประเทศได้จริงหรือ แต่กรณีของประเทศคิวบา บอกเราว่า “ทำได้จริง” “ประวัติศาสตร์คิวบาโดยสังเขป” พลังทางเศรษฐกิจของคิวบา ในช่วงระยะเวลาหลังจากการปฏิวัติในปี ค.ศ 1959 ถึง 1990 ก่อนสหภาพโซเวียตล่มสลาย มี 2 ประการ คือ การตัดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจจากสหรัฐและการได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจาก
สหภาพโซเวียตอย่างมากมาย ทำให้คิวบามีความเจริญทางวัตถุมากกว่าประเทศละตินอเมริกาอื่นๆ มีอุตสาหกรรมและการเกษตรที่ใช้เครื่องจักรกลต่างๆมาก แต่ก็เหมือนกับประเทศในโลกที่ สามอื่นๆ คือเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบต้องพึ่งพาคนอื่น การปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการส่งออก ต้องใช้ปุ๋ย สารเคมี เมล็ดพันธุ์ลูกผสม เคร่ืองจักร เช้ือเพลิงจากต่างประเทศทั้งนี้ เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องพึ่งพาประเทศอื่นด้าน เทคโนโลยีการผลิตต่างๆ มี การส่งออกสินค้าที่เป็นวัตถุดิบการเกษตร และแร่ธาตุต่างๆ แต่นำเข้าอาหาร และสินค้า อุตสาหกรรม ในช่วงเวลาที่สหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย ประเทศคิวบาประสบความสำเร็จในการพัฒนา ด้านต่างๆ โดยดูได้จากตัวช้ีวัดต่างๆ เช่น ผลผลิตประชาชาติต่อหัว ภาวะโภชนาการ อายุโดยเฉลี่ย ระดับการศึกษาของสตรี จำนวนแพทย์ อัตราตายของทารก สภาพบ้านเรือน อัตราการเข้าเรียน มัธยม และการเข้าร่วมกจิกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ ความสำเร็จเหล่านี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากอุดมการณ์ของผู้นำที่เน้นเรื่อง การสร้างความเป็นธรรม ในสังคม และการช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต ที่ยอมซื้อสินค้าจากคิวบาในราคาแพง เช่น ซื้อน้ำตาลในราคาที่สูงกว่าราคาของตลาดโลกถึง 5.4 เท่า หรือการแลกสินค้ากับน้ำมัน แล้วนา ไปขาย ต่อ ซ่ึงเป็นผลทำให้ ย่ิงมีการขยายการผลิตน้ำตาลมากกว่าการผลิตสินค้าเกษตรเพ่ือเป็นอาหาร คิดเป็นพื้นที่ถึง 3 ต่อ 1 อาหารที่คนคิวบาบริโภค 57% มาจากการนำเข้า ช่วงเวลาหลังการปฏิวัติเม่ือปี ค.ศ 1959 จนถึง ปี ค.ศ 1962 รัฐเข้าไปยึดครองที่ดินไปถึง 63 % ของพื้นที่การเกษตร ประชากรส่วนใหญ่อยู่ ในเมือง (69% ในปี ค.ศ 1980) เกษตรกรรายย่อย ชาวไร่ ชาวนา ของคิวบาซ่ึงเป็นคนกลุ่มน้อยของ ประเทศมาตั้งแต่ก่อนการปฏิวัติ ครอบครองเนื้อที่เพียง 20 % แต่ผลิตอาหารได้เป็นปริมาณถึง 40 % ของการผลิตในประเทศทั้งหมด
2. การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ทำให้คิวบาประสบกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ สังคม และ สขุภาพรวมทั้งจิตวิญญาณอย่างรุนแรง “จุดเริ่มต้นของการวิกฤต” ค.ศ 1991 การนำเข้าน้ำมันของคิวบาลดลงอย่างฉับพลันทันที 53 % และมีผลทำให้ขาดแคลนเงินตราต่างประเทศที่ได้จากการส่งน้ำมันไปขายต่อ การน้ำเข้าปุ๋ยและสารเคมีเกษตรลดลง 80 % การนำเข้าธัญพืชลดลงมากกว่า 50 % ย่ิงเป็นอาหารประเภทอื่นๆ ย่ิงลดลงมากกว่าน้ี เกิดภาวะขาดแคลนอาหารข้ึนทั่วประเทศ คนคิวบาเจ็บป่วยด้วยภาวะทุพโภชนาการอย่างรุนแรง โดยเฉพาะ ผู้ชาย เพราะรัฐบาลเน้นการแบ่งปันอาหารให้เด็ก สตรีตั้งครรภ์ และผู้สงูอายุก่อนคนอื่น เกิดโรคประสาทตาอักเสบเพิ่มมมากข้ึน บางคนเป็นมากถึงข้ันต้องตาบอดไปตลอดชีวิต มี รายงานว่า ในปี ค.ศ. 1992 มีคนเป็นโรคน้ี 1,000 คน แล้วเพ่ิมข้ึนสูงเป็น 50,000 คนในปี ค.ศ. 1993 ซึ่งพบว่าเกิดจากการขาดวิตามินเอ วิตามินบี เพราะคนไข้เหล่านี้ได้ทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์ เฉลี่ยเพียงแค่ 3 ม้ือในรอบ 6 เดือน ร่วมกับการที่พบว่าคนคิวบาได้รับสารเมธานอลมากข้ึน จาก สุราพื้นบ้านที่ผลิตกันเอง เพื่อทดแทนอาหารและรายได้ที่หายไปจากวิกฤตของประเทศ
รัฐบาลคิวบาต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก เป็นค่าซ้ือวิตามินแจกจ่ายแก่ประชาชน ซ่ึงทางให้ปัญหานั้น หยุดยั้งลงได้ แต่ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะวิกฤต “เทคโนโลยทางเลือก” ยังโชคดีที่คิวบามีจุดแข็งอย่างอื่น ที่ทำให้รับมือกับวิกฤตได้ นั้นคือการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยที่มาคิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหาได้ แม้ว่าคิวบาจะมี ประชากรแค่ 2% ของกลุ่มประเทศละตินอเมริกา แต่มีจำนวนนักวิทยาศาสตร์มากถึง 11 % รัฐบาลคิวบาจึงเปลี่ยนทิศทางนโยบายด้านการเกษตรแบบกลับหลังหัน 360 องศา หันมา เน้นการพ่ึงตนเอง ฟ้ืนฟูภูมิปัญญาท้องถ่ิน ลดการนำเข้าปัจจัยการผลิตทั้งหลาย หันมาใช้วิธีการทาง ชีวภาพเพ่ือควบคุมแมลง เช่น แบคทีเรียบีที ตัวห้ำ ตัวเบียน ปุ๋ยเคมีถูกแทนที่โดยปุ๋ยชีวภาพ ไส้เดือน ฟอสเฟตจากหินธรรมชาติ (หินจากลาวาภเูขาไฟ) ปุ๋ยคอก มีการใช้วัวควายไถนา แทนการ ใช้รถแทรกเตอร์ การหมุนเวียนชนิดพืชที่ปลูก ตามฟาร์มต่างๆหลายแห่งของคิวบาในปัจจุบันจะมี ห้องทดลองและห้องผลิตสารชีวภาพกำจัดศัตรูพืช มีความร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ของ ประเทศกับเกษตรกรอย่างเข้มข้น ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการพยายามพึ่งตนเองในสาขาอื่นๆ ก็ทำอย่างเต็มที่ด้วย เช่น การใช้ยา สมุนไพรอย่างแพร่หลาย ทั้งในโรงพยาบาลและคลินิกต่างๆ คิวบายังมีผลิตภัณฑ์ทางเภสัชภัณฑ์อีก หลายชนิด สามารถผลิตวัคซีนท้ังเพ่ือใช้เองภายในประเทศและส่งออกเน่ืองจากมีพ้ืนฐานการ พัฒนาเทคโนโลยีด้านนั้นมาก่อนจากการช่วยเหลือของโซเวียต ในปี ค.ศ. 1997 คิวบามีรายได้จากการส่งออกเภสัชภัณฑ์มากเป็นอันดับที่ 3 รองจาก น้ำตาล และแร่นิเกิ้ล “การปรับตัวของเกษตรกรรายย่อย”
3. แม้ว่าจะมีการเพ่ิมปริมาณวัว เพ่ือใช้แรงงาน และผลิตปุ๋ยคอกจำนวนมาก เพ่ือใช้แทนรถ แทรกเตอร์ ซ่ึงไม่ได้ใช้งานเพราะขาดแคลนเช้ือเพลิง มีการใช้ไส้เดือนผสมมูลสัตว์ขยายไปอย่างมาก แต่ผลผลิตในแปลงขนาดใหญ่ของรัฐ ยังไม่เพ่ิมขึ้นเลย ตรงกันข้าม ชาวนา ซ่ึงเป็นคนส่วนน้อย (20 %) กลับเพิ่มผลผลิตได้มากกว่า ทั้งๆที่ใช้วิถี การผลิตแบบดั้งเดิม “ฟาร์มขนาดใหญ่ ของรัฐ” ฟาร์มขนาดใหญ่ของรัฐไม่สามารถปรับตัวไปใช้เทคนิคการเกษตรแบบด้ังเดิมได้ เพราะ ระบบการผลิตแบบเดิม มีการแบ่งหน้าที่คนทำงานเป็นฝ่ายๆแยกกันคนละหน้าที่ เช่น การเตรียม ดิน การปลูก การกำจัดวัชพืช การเก็บเกี่ยว ไม่มีใครที่จะมีโอกาสชื่นชมกับผลผลิตการเกษตรที่งอก เงยมาจากน้ำมือของตนเองทุกข้ันตอน
จิตวิญญาณการเกษตรจึงไม่เกิดข้ึน รัฐบาลได้พยายามทดลองโครงการฟ้ืนฟูความสัมพันธ์คนงานกับผืนดิน โดยการจัดกลุ่ม คนงานให้เล็กลงและทุกคนร่วมกันรับผิดชอบการผลิตทุกขั้นตอนในที่ดินขนาดเล็กที่จัดไว้ให้ การจ่ายค่าตอบแทน
สัมพันธ์กับผลผลิต ซ่ึงปรากฏว่า ผลผลิตเพ่ิมข้ึน แต่วิธีการน้ียังไม่ได้แพร่หลายมาก เม่ือเปรียบกับการผลิตแบบขนาดใหญ่แบบเดิม ซ่ึงใช้นักเทคนิคเพียงคนเดียว สามารถควบคุมการ ผลิตได้หลายพันเฮกเตอร์ เพียงแต่ทำตามสูตรที่กำหนดไว้และควบคุมเครื่องจักรเท่านั้น แต่การเกษตรแบบนิเวศ ต้องอาศัยความคุ้นเคยกับความหลากหลายของระบบนิเวศใน พ้ืนดินอย่างแนบแน่น ต้องรู้ว่าบริเวณไหนต้องการการบำรุง ตรงไหนจะมีศัตรูพืชเข้ามารบกวน ประเด็นนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐบาลไม่สามารถทำได้ ปลายปี ค.ศ 1993 รัฐบาลคิวบาจึงเริ่มจัดระเบียบการผลิตใหม่ ที่มุ่งเน้นฟาร์มขนาดเล็ก มากขึ้น มีการอนุญาตให้ประชาชนมีโอกาสได้เป็นเจ้าของที่ดินและการส่งเสริมระบบสหกรณ์อย่าง จริงจัง เรียกว่า สหกรณ์การผลิตพ้ืนฐาน (Basic Unit Coorperation Production, UBPCs) คิดเป็น 80% ของพื้นที่ของรัฐ มีระบบการให้เช่าที่ดินเป็นกลุ่ม และจัดระบบบริหารจัดการกันเอง มีระบบโควต้าการผลิต ถ้าผลิตได้เกินโควต้า สามารถนำไปขายในตลาดได้ แทนการนำไปขายในตลาดมืด และนำเงินมา พัฒนาการผลิตต่อไป การเปลี่ยนคนงานเกษตรให้เป็น เกษตรกร เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา
สหกรณ์หลายแห่งยังมีปัญหาการจัดการ ระบบค่าตอบแทนยังไม่ดีพอ และสหกรณ์หลายแห่งยังติดปัญหาที่รัฐมีนโยบาย ผลิตน้ำตาลและส้มเป็นหลัก จึงไม่แปลกใจที่ผลผลิตอ้อยและส้มไม่ค่อยเพิ่มมากนัก แต่การปลูกพืชอาหารอื่นๆ ในพื้นที่ว่างและที่ดินระหว่างต้นอ้อยหรือต้นส้มมีผลผลิตดีมาก “ประสบความสำเร็จในการแก้ป้ญหาอาหารขาดแคลน” กลางปี ค.ศ 1995 ปัญหาการขาดแคลนอาหารก็หมดไป ในปี ค.ศ. 1996-1997 ผลิตได้ สงูสดุ จากฟาร์มขนาดเล็กและพื้นที่สวนหลังบ้านของคนเมือง
4.การขาดแคลนอาหารในช่วงก่อนหน้าน้ี ทำให้การผลิตสินค้าอาหารขายได้ราคาดีมาก ย่ิงรัฐบาลสนับสนุน ยิ่งทำให้คนต่ืนตัวมาก การผลิตอาหารเองโดยคนเมือง ที่ใช้ระบบเกษตรอินทรีย์ของคิวบา มีส่วนแก้ปัญหาการขาดแคลนได้อย่างมาก “ทางเลอืกคือ ต้องเปลี่ยนวิธีคิดและจิตวิญญาณ” เราได้เรียนรู้ประสบการณ์บางอย่างจากประเทศคิวบาว่า ความเชื่อดั้งเดิมที่ว่า ประเทศขนาดเล็กก็ไม่สามารถเล้ียงตัวเองได้น้ัน สรุปได้ว่า ไม่จริง การเกษตรที่ไม่ต้องใช้สารเคมีนั้น เป็นไปได้จริง การผลิตขนาดใหญ่ไม่ช่วยเพ่ิมประสทิธภิาพ การผลิตขนาดเลก็มีประสทิธภิาพมากกว่า การแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร ไม่ใช่ด้วยวิธีส่งอาหารไปช่วยเหลือแต่ต้องผลิตได้เองใน ท้องถิ่น “บทสรุปแนวคิด / วิธีคิดใหม่”
1. ใชเ้ทคโนโลยีเกษตรนิเวศดีกวา่สารเคมี โดยการปลูกพืชสลับชนิด ผลิตปุ๋ยชีวภาพและสารกำจัดแมลงเอง เป็นสิ่งที่คุ้มค่าต่อท้ัง เกษตรกรและสิ่งแวดล้อม 2. ราคาทีเ่ป็นธรรมต่อเกษตรกร เม่ือราคาสินค้าดี เกษตรกรย่ิงเพ่ิมการผลิต ปัจจุบันราคาสินค้าการเกษตรถูกควบคุมให้ค่าเกินจริง รวมท้ังการอุดหนุนเกษตรกรของรัฐบาลในประเทศร่ำรวย เพ่ือให้มีราคาต่อสู้กับสินค้า การเกษตรจากประเทศอ่ืนได้ 3. การจดัสรรทีด่ินใหม่ เกษตรกรที่ทำการเกษตรขนาดเล็กเป็นผู้ผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้ปัจจัยการผลิตน้อย แต่ให้ผลผลิตสงู การจัดสรรที่ดินใหม่ในคิวบาทำได้ง่ายเพราะหลังการปฏิวัติ รัฐได้ยึดเอาที่ดินส่วน ใหญ่มาเป็นของรัฐ ทำให้ไม่มีเศรษฐีเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ ที่จะมาขัดขวางการปฏิรูปที่ดิน 4. มุ่งเน้นการผลิตในท้องถ่ิน เกษตรกรไม่ควรพ่ึงพาราคาจากตลาดและการขนส่งสินค้าทางไกล ควรเน้นการผลิตเพ่ืออาหาร
การผลิตเพ่ือบริโภคเองภายในชุมชนหรือท้องถ่ินใกล้เคียง ช่วยทำให้ความสมบูรณ์ของ อาหารมีมากกว่า และมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในชุมชน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า ใช้น้ำมันเช้ือเพลิงจากพลังงานซากดึกดำบรรพ์ น้อยกว่าการเน้นการผลิตเพื่อส่งไปขายที่อื่น การผลิตเองในเมือง ช่วยทำให้ชาวเมืองพ่ึงพาตนเองได้ด้านอาหาร อาจตกแต่งให้เป็นสวนประดับบ้านสวยงามและช่วยเพ่ิมการจ้างงาน “สรุป” บทเรียนของประเทศคิวบา บอกให้เรารู้ว่า ประเทศขนาด
เล็กก็สามารถผลิตอาหารเล้ียงคน ของตนได้ โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกษตรกรต้องได้รับการตอบแทนที่ เหมาะสมกับผลผลิต ซ่ึงจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เพ่ิมผลผลิตมากย่ิงข้ึน การใช้สารเคมีไม่มีความจำเป็นใดๆ เลย
5. ที่สำคัญ นี่คือ เป็นวิธีคิดที่นำไปสู่การฟื้นฟูทางจิตวิญญาณ
บรรณานุกรม
นพรัตน์ ละมุล (บรรณาธิการ). เมล็ดพันธ์สัญจร. กรณีศึกษาเมล็ดข้าวพ้ืนบ้านท่ามกลางกระแส โลกาวิบัติ. ชมรมศิษย์เก่าบูรณะชนบทและเพ่ือน. กรุงเทพฯ. 2544. ไพโรจน์ ภูมิประดิษฐ์ (แปล). ปล้นผลผลิต. สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา. กรุงเทพฯ. 2544. (แปลจาก วันทนา ศิวะ. The Hijacking of the Global Food Supply.) Febles-Gonzalez JM, et al. Cuban agricultural policy in the last 25 years. From conventional to organic agriculture. Land Use Policy 28 ( 2011) 723–735. DOI:10.1016/j.landusepol.2010.12.008 Hinne Wagenaar (Ed.). Agriculture and Spirituality. Essay from the Crossroads Conference at Wageningen Agricultural University. International Books. Utrecht. 1995. Luz Claudio. The Challenge for Cuba. Environmental Health Perspectives. 107; 5: 1999. A246 – A251. Peter M. Rosset. Cuba: A Successful Care Study of Sustainable Agriculture. In Fred Magdoff, John Bellamy Foster and Frederick H. Buttel (Eds). Hungry for Profit :The Agribusiness Threat to Farmers, Food and the Environment. Monthly Review Press, New York.2000. 203-213.
ขอบคุณที่มารูปภาพ
https://images.app.goo.gl/pmRM1C3nbBbmPoJHA