โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ตอนที่ 9 มาตรการรับมือหลังจากปิดโรงเรียน: การเข้าถึงอาหารของเด็ก

             หลังจากหลายประเทศได้มีการสกัดกั้นการแพร่ระบาดของไวรัส ส่งผลให้สถานที่หลายแห่ง รวมถึงโรงเรียนก็ได้มีมาตรการสั่งปิดด้วยเช่นกัน ถึงแม้เป็นมาตรการการปิดแบบชั่วคราว แต่ก็กระทบกับนักเรียนทั่วโลกมากกว่า 300 ล้านคนในแง่สิทธิด้านการศึกษา และประสิทธิภาพในการเรียนการสอนของโรงเรียน มาตรการการสั่งปิดโรงเรียนนั้นไม่ได้กระทบต่อนักเรียน และครูผู้สอนเท่านั้น แต่ได้กระทบตรงกับผู้ปกครองนักเรียนที่บางครอบครัวที่ยากไร้มีข้อจำกัดในการหารายได้มาจุนเจือค่าใช้จ่ายในครอบครัว โดยเฉพาะการเข้าถึงอาหารตามหลักโภชนาการให้กับเด็ก ที่ผ่านมาหลายโรงเรียนพยายามสร้างพื้นที่อาหารโดยการทำแปลงการผลิตป้อนสู่โรงอาหารของโรงเรียนเพื่อลดต้นทุนค่าอาหาร รวมถึงการออกนโยบายของรัฐในการสนับสนุนอาหารกลางวัน การปิดโรงเรียนจึงเท่ากับว่าการเข้าถึงอาหารที่ดีตามหลักโภชนาการนั้นได้หายไปด้วยเช่นกัน
             หากมองถึงมาตรการรับมือในมิติการเข้าถึงอาหารของนักเรียนในช่วงการปิดโรงเรียนนั้น รัฐบาลหลายประเทศมีมาตรการที่น่าสนใจ เช่น

  • โรงเรียนยังคงเปิดครัวทำอาหาร เพื่อปรุงอาหารไปกระจายให้กับนักเรียนที่ขาดแคลน รวมถึงนักเรียนพิการและกลุ่มพิเศษ โดยการเดินเท้าแจกอาหารตามบ้านนักเรียนโดยครูจิตอาสา และการกระจายอาหารโดยรถโรงเรียนตามจุดต่างๆ ในชุมชนใกล้บ้านของนักเรียน
  • การเปิดโรงอาหารให้บริการแก่ครอบครัวของนักเรียนที่ขาดแคลน
  • การแจกคูปองรายสัปดาห์ให้กับนักเรียนเพื่อนำไปซื้ออาหารจากซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านค้าเพื่อชดเชยค่าอาหารในโรงเรียน

             มาตรการดังข้างต้นไม่ได้เกิดจากส่วนกลางอย่างเดียวแต่เกิดจากความร่วมมือของหลายส่วนทั้งโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ที่เห็นความสำคัญและตระหนักถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กซึ่งไม่ใช่เพียงการเข้าถึงการศึกษาเท่านั้น แต่ได้รวมถึงการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพของเด็กก็เช่นกัน

ดูรายละเอียดได้ที่

บทความแนะนำ