โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ตอนที่ 27  ผึ้งกับการฟื้นฟูพันธุกรรมพืชพื้นบ้าน

      ผึ้งกับการฟื้นฟูพันธุกรรมพื้นบ้าน มีบทบาท หรือหนุนเสริม หรือสร้างความมั่นคงอาหารอย่างไร ???

      คำถามจากผู้ดำเนินรายการ ในเวทีเสวนา “ผึ้งกับการฟื้นฟูพันธุกรรมพืชพื้นบ้าน” เมื่อวันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2563 หนึ่งในหัวข้อเสวนางานมหกรรมพันธุกรรมพื้นบ้าน ปี 2563 ที่ได้จัดเวทีผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกส์ (Video Conference) โดยใช้โปรแกรม ZOOM

      นายสัญญา ชิตมณี หัวหน้าโครงการวิจัยผึ้งและชันโรง ได้ให้คำตอบที่น่าสนใจว่า “ผึ้งจะช่วยในการผสมเกสรดอกไม้ทำให้ได้ความหลากหลายของพันธุ์พืชในสวนที่เลี้ยงผึ้งมากขึ้น ทั้งพืชสมุนไพร ไม้ดอก ไม้ผล ไม้พื้นบ้านต่างๆ และยังทำให้เกิดชนิดพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมาจากที่ผึ้งไปผสมเกสรให้ และยังทำให้ไม้ผลติดดอกออกผลผลิตได้ดีขึ้น” และนายทวี เสนแก้ว ผู้ประสานงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงไทยบ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง เล่าว่า “ เราใช้การเลี้ยงผึ้งเป็นเครื่องมือให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร และทำให้มีรายได้เพิ่มเติมจากน้ำผึ้ง เพราะผึ้งจะอ่อนไหวกับสารเคมี แต่หากมีการจัดการทรัพยากรที่ดี มีอาหาร มีแหล่งน้ำสะอาด มีอากาศที่ดี ไม่มีสิ่งรบกวน ผึ้งจะเติบโตได้ดีและให้น้ำผึ้งที่ดีมีคุณภาพ”

      หลายๆ คนรู้ดีว่า “ผึ้ง” มีหน้าที่ในการช่วยผสมเกสรให้กับพืช ทำให้พืชพันธุ์ต่าง ๆ มีความหลากหลาย ทำให้พืชได้ผลผลิตที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ “น้ำผึ้ง” ยังเป็นผลผลิตอันทรงคุณค่าที่ได้จากผึ้ง ซึ่งมีประโยชน์และสรรพคุณทางยามากมาย และสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้กับครัวเรือนและชุมชน

      เกษตรกรในหลายชุมชน จึงหันมาเลี้ยงผึ้งอย่างจริงจัง อย่างเช่น กลุ่มธนาคารผึ้งและชันโรงบางแก้ว ภาคใต้ ซึ่งเป็นการรวมตัวเพื่อเลี้ยงผึ้งในหลายๆ ชุมชนของอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง โดยมีแนวคิดหลักเพื่อเสริมรายได้ บนการรักษาฐานทรัพยากรในท้องถิ่น การจัดการดูแลรักษาป่าและสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยงกับการตลาดภายใต้ธุรกิจเพื่อสังคม สืบสานและพัฒนาต่อยอดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้ขยายครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ ในปี 2562 มีสมาชิกเริ่มต้น 100 ครัวเรือน มีพื้นที่เลี้ยงผึ้ง 1,772 ไร่ เช่นเดียวกันกับชุมชนตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในพื้นที่หมู่ที่ 2,3,4 ได้มีการศึกษาวิจัยการเลี้ยงผึ้งชันโรง จำนวน 54 รัง เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมและการฟื้นฟูสภาพภูมินิเวศน์ของชุมชน

      กระบวนการได้มาซึ่งน้ำผึ้งยังผสมผสานกับภูมิปัญญาและความเชื่อ บางหมู่บ้านในพื้นที่ภาคใต้ มีความเชื่อว่า การจับผึ้งในป่าต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนตีผึ้ง โดยจะตีผึ้งในตอนกลางคืน ก่อนจะตีผึ้งนั้น ต้องมีการใช้เงาตัวเองทาบกับต้นไม้ใหญ่ เพื่อดูว่ามีเงาส่วนใดหายไปหรือไม่ หากเงานั้นสมบูรณ์ดีก็สามารถขึ้นต้นไม้เพื่อเอาผึ้งได้ และก่อนที่จะตีผึ้งต้องมีการนำผ้าไปผูกไว้ที่โคนต้นไม้ก่อน เพื่อเป็นการบอกให้รู้เป็นกลายๆ ว่า ต้นไม้นั้นมีคนมาจับจองไว้แล้ว เป็นสัญลักษณ์ของการเอื้อเฟื้อแบ่งปันและสมานฉันท์กันของคนในชุมชน

ผึ้ง……ผู้สร้างอาหารให้กับโลก

      ผึ้งไม่ได้มีบทบาทเพียงผู้ผสมเกสรดอกไม้เท่านั้น แต่ผึ้งยังเป็นผู้สร้างอาหารให้กับโลก ในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ได้มีการศึกษาวิจัยด้านผลกระทบต่อภัยธรรมชาติ และภาวะการขาดแคลนอาหารของโลก ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีการลดลงของผึ้งอย่างน่าใจหาย เนื่องจากแหล่งอาหารของผึ้ง ไม่ว่าจะเป็นป่าธรรมชาติ หรือพื้นที่เกษตรธรรมชาติได้ลดน้อยจำนวนลงอย่างมาก มีพืชผักผลไม้ที่ต้องพึ่งพาในการช่วยถ่ายละอองเกสรจากผึ้งได้แก่ ส้ม สตรอเบอรี่ แคนตาลูป แตงโม พริกหยวก มะเขือ องุ่น มะม่วง แตงกวา ลูกท้อ กาแฟ แอปเปิ้ล เงาะ ทุเรียน ฯลฯ

      เช่นเดียวกันกับการศึกษาระบบนิเวศของตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อดูความเหมาะสมต่อการเลี้ยงผึ้ง พบว่า ตำบลทุ่งตำเสา มีนิเวศที่ทำให้มีพันธุ์ไม้หลายชนิดเป็นอาหารชั้นดีให้กับผึ้ง ทั้งไม้ผล เช่น ลองกอง มะพร้าว หมาก ทุเรียน มังคุด ไม้ธรรมชาติและผักพื้นบ้านต่างๆ ยอดแซะ หมุย หวาย ข่า ตำเสา เม่า เหรียง เนียง เพกา จิก พืชในนา เช่น ดอกข้าว รวมไปถึงแหล่งน้ำที่มีดอกบัว ดอกผักกระเฉด ผักตบซึ่งเป็นอาหารที่ผึ้งชื่นชอบ และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผึ้งสามารถอยู่อาศัยได้เพราะมีอาหารที่ดี นอกจากนั้นมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่ทำให้ผึ้งอาศัยอยู่ได้ เช่น อากาศ ความชื้นที่เหมาะสม แหล่งน้ำสะอาด แต่สำหรับศัตรูผึ้งก็คือ จิ้งจก ต้อ มดแดง และสารเคมีที่จะไปทำลายระบบปราสาทของผึ้ง

ผึ้ง …..ทางเลือกหนึ่งของการสร้างความหลากหลายพันธุกรรมพืช

      ทิศทางในการเลี้ยงผึ้งเพื่อสร้างความหลากหลายพันธุกรรมพืช เป็นประเด็นที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้น นอกเหนือจากเป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกร ที่สำคัญความหลากหลายของพันธุ์พืชที่เกิดขึ้นนั้น ได้ช่วยให้ผลผลิตของภาคเกษตรมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นด้วย

      ดร.จตุพร เทียรมา รองคณบดี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ร่วมฟังในเวทีครั้งนี้ และได้ฝากความคิดเห็นไว้ว่า “ความมั่นคงทางอาหารเกิดขึ้นจากผึ้ง ปัจจุบันพืชอาหารร้อยกว่าชนิดลดลงไป เนื่องจากระบบนิเวศถูกทำลายและเกิดสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในต่างประเทศให้ความสำคัญกับการเลี้ยงผึ้งเพื่อให้ผสมเกสร และสร้างความหลากหลายทางนิเวศ ดังนั้นมีความ

ขอขอบคุณ

-ข้อมูลจากงานเสวนา “ผึ้งกับการฟื้นฟูพันธุกรรมพืชพื้นบ้าน” ในงานมหกรรมพันธุกรรมพื้นบ้าน ปี 2563 วันที่ 30  พฤษภาคม 2563
-ข้อมูลจากเฟสบุ๊ค มัสนาวี ศิริโสภณ
-ข้อมูลจากเฟสบุ๊ค ดร. ไพลิน ฉัตรอนันทเวช

บทความแนะนำ